By Chanjira_Yee
|
03 มี.ค. 2565 เวลา 9:28 น.
ยักษ์ที่ว่าอาจหมายถึง ศัตรู ความโชคร้าย ความพิการ หรือ การกดขี่ข่มเหงทุกรูปแบบ การที่ผู้เสียเปรียบ สามารถเอาชนะยักษ์ที่ว่านี้ไปได้ย่อมเป็นเรื่องที่มีคุณค่าให้เกิดแรงบันดาลใจ เพราะความกล้าหาญที่จะยืดหยัดต่อสู้แม้มีโอกาสชนะเพียงน้อยนิด นั่นงดงามและสมควรได้รับการจดจำ
แล้วเพราะอะไร ที่จะทำให้ยักษ์ล้มได้ ขอหยิบยกตัวอย่างจากหนังสือที่ชื่อว่า กลยุทธ์ล้มยักษ์ : David and Goliath มาเล่าให้ฟัง
เคส 1
1 ในเรื่องเล่าขานโด่งดังกว่า สามพันปีก่อน ระหว่างนักรบยักษ์โกไลแอธกับเดวิดเด็กเลี้ยงแกะ คนตัวเล็ก ร่างบาง ไม่เคยรบในสนามใดมาก่อน ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์ไบเบิล ก็เพราะผลลัพท์ที่เหนือความคาดหมายที่เป็นที่ตื่นตะลึงว่าทำไม เด็กเลี้ยงแกะ ต่ำต้อยถึงสามารถเอาชนะ นักรบยักษ์ที่ไม่มีกล้าประลองฝีมือด้วย
แล้วอะไรเป็นกลยุทธ์ที่เดวิดใช้ล้มยักษ์ลงได้ในเสี้ยววินาที แน่นอนว่าไม่ใช่อาวุธที่เหนือกว่า หรือ ความแข็งแกร่ง แต่เป็นจุดอ่อนและศรัทธาของเขา
“ความพยายามสามารถเอาชนะทักษะได้ และธรรมเนียมมีไว้ให้ท้าทาย”
เคส 3
ลอว์เรนซ์แห่งอาระเบีย
นักรบเร่ร่อนชาวเบดูอินต่อต้านการยึดครองของกองทัพตุรกี ลอว์เรนซ์คือชื่อของผู้นำในการรบครั้งประวัติศาสตร์นี้ เอาชนะกองกำลังทหาร อาวุธ และทรัพยากรด้วยการรบแบบกองโจร ที่โจมตีจุดอ่อนของคู่ต่อสู้ด้วยไหวพริบ ความคล่องตัวและความอึด ของ คนตัวเล็ก
โดยทั้ง 3 กรณีมีรูปแบบการใช้กลยุทธ์ร่วมกัน ดังนี้
- สู้ด้วยสัญชาตญาณ ไม่ตามระเบียบแบบแผน
- ความกล้าหาญ
- ชิงความได้เปรียบด้วยอาวุธหรือความเชี่ยวชาญที่มีในมือ
- ใช้ความอึดและถึกสู้กับคนที่มีทักษะเหนือกว่า
- ความเชี่ยวชาญ ชำนาญเป็นพิเศษ (รู้จักพื้นที่ดีกว่า, รู้รายละเอียดเฉพาะมากกว่า)
สถิติที่น่าสนใจจากนักรัฐศาสตร์ อีวาน อาร์เรกิน-ทอฟต์ กล่าวว่า ในการรบระหว่างประเทศที่ได้เปรียบทุกด้านกับประเทศที่ด้อยกว่า สัดส่วนที่ประเทศเล็กๆ ยากจนกว่าจะชนะสงครามอยู่ที่ 1 ใน 3 หรือ 28.5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนประเทศมหาอำนาจที่มีอาวุธครบมือ อยู่ที่ 71.5 เปอร์เซ็นต์ แสดงให้เห็นว่า ความเป็นไปได้ไม่เท่า 0
นั่นสามารถพอจะสรุปได้ ถ้าสู้ก็มีโอกาสชนะ ขึ้นอยู่กับว่าจะสู้ด้วยวิธีไหนและผู้นำเป็นใครเท่านั้นเอง
เรียบเรียงและสรุปจากหนังสือเรื่อง
กลยุทธ์ล้มยักษ์: David and Goliath