Thailand Sport Magazine Sponsored

ไม่ได้เน้นแค่ความมัน! “ONE ลุมพินี” ยืนยันนวมเล็ก 4 ออนซ์ ปลอดภัยกว่านวมใหญ่เยอะ

Thailand Sport Magazine Sponsored
Thailand Sport Magazine Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   


ONE ลุมพินี รายการกีฬาต่อสู้ที่ยกระดับมาตรฐานมวยไทยให้ก้าวไปถึงระดับโลก ซึ่งได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากผู้ชมทั่วโลกมาด้วยดีตั้งแต่เปิดตัวเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา

ท่ามกลางการแข่งขันที่เต็มไปด้วยสนุก ดุเดือด เร้าใจ ในอีกมุมหนึ่งก็มีเสียงสะท้อนจากผู้ชมบางส่วน ถึงความกังวลด้านความปลอดภัยของนักกีฬา จากการเห็นนักกีฬาใช้นวมขนาดเล็ก 4 ออนซ์ที่ใช้ในแข่งขัน MMA มานานหลายสิบปี แต่สำหรับคนไทยกลับเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่

ความปลอดภัยของนักกีฬาจัดเป็นเรื่องสำคัญลำดับแรกที่องค์กรศิลปะการต่อสู้ ONE คำนึงถึง โดยก่อนชกนักกีฬาต้องผ่านการตรวจร่างกายเพื่อให้แน่ใจว่ามีสภาพพร้อมแข่งขัน รวมถึงการชั่งน้ำหนักที่ต้องผ่านเกณฑ์การรักษาระดับน้ำในร่างกายด้วย

“เปรม-อริยะวัฏ บุษราบวรวงษ์” กรรมการผู้จัดการ วัน แชมเปียนชิพ ประเทศไทย อธิบายเรื่องนี้ว่า

นักกีฬาที่จะได้ชกใน ONE ลุมพินี ต้องส่งผลเลือด การตรวจ HIV และค่าของตับมาก่อน ถ้าสิ่งเหล่านั้นผ่าน ทุกคนจะต้องมาที่โรงแรมเก็บตัวในเช้าวันพุธ จากนั้นจะส่งตัวนักกีฬาไปตรวจร่างกายอย่างละเอียดที่โรงพยาบาล เช่น การตรวจ CT Scan เช็คสมองเพื่อดูว่ามีสิ่งผิดปกติไหม”

“มีการตรวจหัวใจ รวมไปถึงการตรวจม่านตา โดยใช้แพทย์เฉพาะทางดูแล เพื่อเช็คการตอบสนองของม่านตาเป็นอย่างไร หากมีความผิดปกติแม้แต่เล็กน้อย ก็จะไม่สามารถชกได้ เพราะสิ่งที่สำคัญสุดที่เราคำนึงถึง คือ ความปลอดภัยของนักกีฬา

ขณะเดียวกัน “จิติณัฐ อัษฎามงคล” ประธาน วัน แชมเปียนชิพ ประเทศไทย เผยว่าตนทราบดีถึงข้อกังวลของผู้คนในวงการมวยไทยบางส่วน ที่มองว่าการใช้นวมเล็กมีความอันตรายสูง ไม่ปลอดภัยต่อนักกีฬา และอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บรุนแรงได้ แต่ในความเป็นจริงนวมเล็กไม่ได้มีอันตรายมากกว่านวมใหญ่อย่างที่บางคนคิด

“นวมขนาด 4 ออนซ์ ไม่ใช่เรื่องใหม่ในอุตสาหกรรมกีฬาต่อสู้ มีการใช้มา 20-30 ปี คนมักเข้าใจว่านวมเล็กทำให้หมัดหนักขึ้น ถูกนำใช้เพื่อให้การแข่งขันดูมีความรุนแรงและอันตรายขึ้น แต่ความจริงในผลงานวิจัย มุมหนึ่งชี้ว่านวมเล็กมีความปลอดภัยมากกว่าด้วยซ้ำ เนื่องจากแรงกระแทกและน้ำหนักหมัดที่กระทบ รวมถึงอาการเหวี่ยงของสมองนั้นมีน้อยกว่านวมใหญ่”

“นวมเล็กนั้น อาจทำให้เกิดแผลแตกภายนอกง่าย เพราะนวมบางและแข็งกว่า และมีโอกาสเกิดจังหวะน็อกได้มากกว่านวมใหญ่ แต่อย่าลืมว่านวมใหญ่นั้นสร้างความบอบช้ำสะสมต่อสมองมากกว่า อาการมือเจ็บ หรือมีแผลแตก สามารถรักษาไม่นานก็หายกลับมาชกได้ แต่สมองถ้าได้รับความบอบช้ำสะสม จะอันตรายต่อนักกีฬาในระยะยาว”

ด้าน “เปรม อริยะวัฏ” ในอีกฐานะที่เป็นผู้จัดการนักกีฬามืออาชีพระดับโลกหลายคน เสริมว่า การใช้นวม MMA ให้ถูกต้อง ต้องกำหมัดให้แน่น โดยนักกีฬาต้องฝึกฝนให้คุ้นชิน ไปจนถึงการมุ่งเน้นที่ความแม่นยำเข้าเป้า มากกว่าการออกแรงชก ซึ่งจะทำให้การใช้นวม 4 ออนซ์ มีประสิทธิภาพมากกว่า

“ผมเคยสอบถามน้องโอ๋ (แชมป์โลก ONE มวยไทย รุ่นแบนตัมเวต) ว่าการใช้นวมเล็กชกมวยไทยแตกต่างกับนวมใหญ่ขนาดไหน น้องโอ๋ ตอบว่าไม่ต่างกัน ทุกอย่างอยู่ที่การฝึกฝน นวมเล็กอาจป้องกันได้ยาก เพราะหมัดหลุดรอดไปได้ง่าย แต่นั่นก็ทำให้นักชกต้องปรับตัว ฝึกการป้องกันตัวมากขึ้น มีการโยกหลบมากกว่าจะตั้งการ์ดยืนรับหมัด แบบตอนชกมวยไทยด้วยนวมใหญ่”

“อีกอย่างนักมวยไทย ควรต้องปรับตัวกับการใช้นวมเล็ก เพราะหลายคนเคยชินกับการกำหมัดไม่แน่นตอนใส่นวมใหญ่ และถ้าคนที่ฝึกฝนจนชำนาญจะรู้ว่า การออกหมัดไม่จำเป็นต้องใส่แรง 100% เหมือนตอนชกนวมใหญ่ เพราะแรง 60-70 % ที่ชกเข้าเป้า ก็สามารถหยุดคู่ต่อสู้ได้แล้ว”

นอกจากมาตรฐานในเรื่องของการตรวจสุขภาพนักกีฬาอย่างละเอียดก่อนแข่งขัน ซึ่งเป็นการกลั่นกรองสภาพร่างกายและความพร้อมของนักกีฬาได้แล้ว ONE ลุมพินี ยังใช้พื้นเวทีมาตรฐานสูงที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะกับการใช้งานเพื่อการแข่งขันกีฬาต่อสู้ ซึ่งสามารถรองรับแรงกระแทกได้ดี มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาการต่อสู้ดูแลตลอดระยะเวลาการแข่งขัน รวมถึงผู้ชี้ขาดบนเวทีที่สามารถพิจารณาตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนเวที ที่สำคัญคือการดูแลค่ารักษาพยาบาลหลังชก ซึ่งทำให้นักกีฬาอุ่นใจได้ว่า ค่าตอบแทนที่ได้รับจะยังอยู่ครบถ้วน แม้จะต้องมีการรักษาอาการบาดเจ็บมากหรือน้อยจากการแข่งขันก็ตาม

Thailand Sport Magazine Sponsored
ผู้สื่อข่าว กีฬา

ข่าวกีฬา นักกีฬา กีฬา ในร่ม indoor outdoor ต้องทำ sport ให้เป็น กีฬา หลักของประเทศ ดูข้อมูล กอล์ฟ บาสเก็ตบอล ฟุตบอล ว่ายน้ำ วอลเล่ย์บอล มวย แข่งรถ แบดมินตัน และ อีสปอร์ต Dedicated to all sport news from Thailand, with news updates, stories and event reports on many different types of sporting activities that the Thailand currently holds, across all of the asia.

This website uses cookies.