“เอฟวันโบ๊ต” ทึ่ง ไทยขึ้นผู้นำโลก! แบรนด์เจ็ตสกีไทยสุดปัง เจ้าของ “เอฟวันโบ๊ต” ขอหารือที่อินโดนีเซีย
เผยแพร่: ปรับปรุง:
เจ็ตสกีไทยสร้างผลงานอย่างเกินความคาดหมายในวงการกีฬาความเร็ว โดยยักษ์ใหญ่ จ้าวความเร็วทางน้ำของโลก “เอฟวันพาวเวอร์โบ๊ต” เชิญเจ้าของแบรนด์เจ็ตสกีโลก WGP#1 ชาวไทย ไปคุยในงาน “กรังปรีซ์ออฟอินโดนีเซีย” ที่ทะเลสาบโตบา เพื่อหารือด้านอนาคตกีฬา หลังนโยบายนายกรัฐมนตรี รัฐบาล และ รมว.พิพัฒน์ รัชกิจประการ ที่เดินหน้าแผนสร้างแบรนด์กีฬาไทยสู่ตลาดโลก ทำสำเร็จในเวลาแค่ 4 ปี สร้างชื่อเสียงไทยไปทั่วโลก ด้านปริเขตชี้ ภาพใหญ่ไทยกำลังขึ้นเป็น “ผู้นำ 5 ประเภทกีฬาความเร็วของโลก” ส่วนปลายปีนี้ เล็งหนุนเศรษฐกิจ นำเข้าทีมนานาชาติ ที่ 3,000 คน พร้อมมั่นใจความสำเร็จในจุดนี้สามารถสร้างประโยชน์ชาติไทย 8 ข้อ รวมมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาทต่อปี
นายปริเขต สืบสหการ ผู้อำนวยการทัวร์นาเม้นท์เจ็ตสกีโลก WGP#1 เปิดเผยว่า “ขณะนี้มาประชุมในด้านอนาคตการพัฒนากีฬาความเร็วทางน้ำของโลกกับเอฟวันพาวเวอร์โบ๊ต (F1H2O) ซึ่งมีการแข่งขันกรังด์ปรีซ์ออฟอินโดนีเซีย ที่ทะเลสาบโตบา ทะเลสาบภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยประธานาธิบดี นายโจโค วิโดโด เดินทางมาร่วมกิจกรรม
สืบเนื่องจากทัวร์นาเม้นท์เจ็ตสกีโลก WGP#1 ได้ประสบความสำเร็จ สร้างชื่อเสียงและผลงานไปทั่วโลก โดยใช้เวลาพัฒนางานแค่ 4 ปี ตามนโยบาย สร้างซอฟต์พาวเวอร์ ของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐบาล และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รวมถึงกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ มร.เรมอนโด ดิ ซาน เจอมาโน่ เจ้าของลิขสิทธิ์ เอฟวันพาวเวอร์โบ๊ต จึงมองว่า ไทยกำลังมีผลงานโดดเด่น สร้างการเติบโตด้านผู้ชมและสื่อทั่วโลกอย่างสูง เป็นกีฬาความเร็วประเภทที่ 5 ของโลก แน่นอนว่า บนบกทั้งรถเอฟวัน ที่เป็น4ล้อ โมโตจีพีที่เป็น 2 ล้อ มีแฟนกีฬามากมาย ถัดมาประเภทแข่งเครื่องบินทางอากาศ และเอฟวันพาวเวอร์โบ๊ต เป็นกีฬาความเร็วประเภทที่ 4 โดยกีฬาวอเตอร์เจ็ต หรือเจ็ตสกี WGP#1 ของไทย กำลังตามติดมาเป็นประเภทที่ 5
ทางเขายอมรับว่าเอฟวันโบ๊ตหาตลาดจัดแข่งไม่ง่ายและมีค่าใช้จ่ายสูงมาก จึงกำลังมาเล็งจัด ที่กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่ WGP#1 ของไทยกลับสวนทางกัน ไปตีตลาดยุโรป ซึ่งเป็นถิ่นฐานบ้านเกิดของเขา และกระแสตอบรับดีมาก โดยปีนี้จะเริ่มสนามเก็บคะแนนชิงแชมป์โลก สนาม 1 ที่โปแลนด์ วันที่ 18-21 พฤษภาคม 2566, สนาม 2 ที่ฝรั่งเศส วันที่ 27-30 กรกฎาคม 2566, สนาม 3 ที่สหรัฐฯ วันที่ 4-8 ตุลาคม 2566 และสนามชิงชนะเลิศ สนาม 4 กำหนดให้มาแข่งขันที่เมืองพัทยา ประเทศไทย วันที่ 13-17 ธันวาคม 2566
เมื่อไทยขึ้นเป็นเจ้าของทัวร์นาเม้นท์วอเตอร์เจ็ตเก็บคะแนนชิงแชมป์โลก WGP#1 ได้สร้างผลดี 8 ข้อสำคัญ ให้กับประเทศไทย ข้อ1.เป็นโครงการสปอร์ตทัวริซึ่มที่ยั่งยืน มีผลดีด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในการนำเข้าทีมนักกีฬา มาเมืองไทย 2,000-3,000 คนต่อทัวร์นาเม้นท์ ช่วยสร้างเงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจเติบโตประมาณ 500-1,000 ล้านบาท พร้อมกับเป็นสินค้าใหม่ๆให้กับการท่องเที่ยว เป็นจุดขายใหม่ ที่สร้างการเติบโตด้านตลาดผู้ชมได้อีกด้วย
ข้อ2.เป็นเสาหลักในการช่วยสร้างตลาดกีฬาเจ็ตสกีภายในประเทศ สร้างเม็ดเงินกว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี ข้อ3.ช่วยส่งเสริมและพัฒนาสู่อุตสาหกรรมกีฬาเพื่อการส่งออก ที่เริ่มต้นขึ้นแล้วในปัจจุบัน ข้อ4.ยืนบนขาตัวเอง โดยมีสื่อประชาสัมพันธ์เมืองไทยไปทั่วโลกกว่า 120 ประเทศ มูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี
ข้อ5.สามารถนำกีฬาท่องเที่ยวและของดีประเทศไทยไปโรดโชว์บนตลาดโลก ข้อ6.ปกป้องสิทธิ์นักกีฬาไทยไม่ให้ถูกเอาเปรียบในการแข่งขันต่างๆ ข้อ7.เป็นต้นแบบการพัฒนากีฬาแบรนด์ไทยสู่ตลาดโลก และ ข้อ8.เป็นผลสัมฤทธิ์การพัฒนางานกีฬาไทย ให้อยู่บนจุดสูงสุดของระบบนิเวศน์ของกีฬาชนิดนั้นๆ เป็นผู้นำของโลก ซึ่งสร้างเกียรติยศกีฬา ชื่อเสียงประเทศไทย และแสดงศักยภาพของประเทศไทย ให้ได้รับความสำคัญขึ้นในอีกบทบาทหนึ่ง”