คอลัมน์ “Golf Healing” โดย “พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกประจำโรงพยาบาลพระมงกุฎ และ โรงพยาบาลรามคำแหง มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมากกว่า 30 ปี somsak_doctor@hotmail.com”
“ไอ้เก่ง!…วันนี้ทำไมเดินสะโหลสะเหล เหมือนคนดูดกัญชา ไม่มีเรี่ยวไม่มีแรง ทำอะไรมาว๊ะ?” พี่หมอเป็นงงกับสภาพอันอิดโรยของเจ้าเด็กอ้วน
“เมื่อคืนผมดูบอลเพลินจนดึก นอนไม่หลับเลยกินยาไป 2 เม็ดครับพี่หมอ”
“ยาอะไรว๊ะเก่ง?”
“คลอเฟนครับ”
“โธ่!ไอ้ห่…เดี๋ยวด่าซะนี่ มึงไม่รู้เหรอว่าคลอเฟนมันเป็นยาแก้แพ้ไม่ใช่ยานอนหลับไอ้บ้า?”
เจ้าเก่งหน้าเหวอ ตอบเสียงอ่อย “รู้ครับแต่กินแล้วมันก็ง่วงเหมือนกันนี่ครับ แต่กล้ามเนื้ออ่อนแรงไปหมดเลย ปากคอก็แห้งกินน้ำจนพุงกางก็ยังไม่หาย”
“เออ สมน้ำหน้า ใช้ยาผิดประเภท มักง่าย” คุณชูสง่าอัดซ้ำ
เคยกินยาแก้แพ้แล้วง่วงมาก เลยเอามากินแทนยานอนหลับซะเลย โดยคิดว่าไม่เป็นไรทำให้หลับเหมือนกัน แต่จริงๆแล้วยาแก้แพ้เป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็ว แต่อยู่ได้เพียงไม่กี่ชั่วโมง ทำให้ต้องกินเพิ่มเสี่ยงต่อการติดยาแก้แพ้และยังอาจเกิดผลข้างเคียง จากการใช้ยาผิดวัตถุประสงค์ ยาแก้แพ้มี 2 ประเภท
– ประเภทที่กินแล้วง่วง เป็นยาแก้แพ้รุ่นเดิม เช่น CPM (Chlorpheniramine) ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) เป็นต้น ยากลุ่มนี้สามารถใช้รักษาอาการเยื่อจมูกอักเสบเนื่องจากภูมิแพ้ที่มีอาการคันจมูก จาม น้ำมูกไหล ผื่นลมพิษ อาการผื่น บวม แดง เนื่องจาก แมลงกัดต่อยหรือสัมผัสสารเคมีหรือพิษจากพืชบางอย่างและใช้ในการบรรเทาอาการเมารถ เมาเรือ
เนื่องจากยากลุ่มนี้ทำให้”ง่วงซึม” จึงควรระวังการใช้ในผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องจักร ขับรถ และห้ามใช้ร่วมกับยากล่อมประสาท ยานอนหลับ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
– ยาแก้แพ้ที่ไม่ทำให้ง่วงนอน หรือ ยาแก้แพ้รุ่นใหม่ ให้ผลดีกว่ากลุ่มเก่าในการลดผื่นลมพิษแบบเฉียบพลันและลดอาการคันได้เร็วกว่า แต่อาจให้ผลในการบรรเทาอาการน้ำมูกไหล อาการเมารถ เมาเรือได้ไม่ดีเท่ากลุ่มเดิม
ยาแก้แพ้บางชนิดหากเราบริโภคบ่อยๆยาบางตัวจะเข้าไปกดสารสื่อประสาทในสมอง ทำให้ประสิทธิภาพของสมองถูกบั่นทอนไป เมื่อสารสื่อประสาท ชื่อ (Acetylcholine) เสื่อม ทำให้มีอาการความจำเสื่อม ความจำสั้นลง มีอาการว้าวุ่น น้ำคิดย้ำทำ
ดังนั้นการกินยาแก้แพ้ เพื่อให้นอนหลับอันเป็นผลข้างเคียงของยาแก้แพ้ซึ่งไม่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะทำให้สมองเสื่อมและอาจติดยาแก้แพ้ได้
ลองมาปรับการกินอาหาร เพื่อคุณภาพการนอนที่ดีขึ้น มารู้จักแหล่งอาหารที่ช่วยให้หลับได้ง่ายขึ้น เช่น
– กรดอมิโน จาก แอล-ทริปโตเฟน (L-Tryptophan)และสารกาบา (GABA) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งพบมากในข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้องงอก หรือจมูกข้าว รวมไปถึง เผือก มัน งา สาหร่ายทะเลและนม ซึ่งควรรับประทานต่อเนื่องประจำจึงจะได้ผลดี
– ผลไม้ ได้แก่ กล้วย อินทผาลัม ลูกพรุน ซึ่งอุดมไปด้วยกรดอะมิโน ที่จะไปสร้าง สารเซโรโทนิน (Serotonin) ที่จะไปทำให้เพิ่มการหลั่งของฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งช่วยควบคุมการนอนหลับให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ร่างกายจะผ่อนคลายจากความเครียดทำให้นอนหลับสนิทดี
– นอกจากเมลาโทนินแล้ว แร่ธาตุที่ช่วยในเรื่องดสริมการนอนหลับให้ดียิ่งขึ้น ก็คือ แมกนีเซียมและวิตามินบีซึ่งพบมากใน ข้าวโอ๊ด กล้วยหอม ซุปมันฝรั่ง ถั่วต่างๆและผักใบเขียว เป็นต้น ดังนั้นจึงควรปรับพฤติกรรมโดยการทานอาหารที่ช่วยส่งเสริมการนอนหลับให้ได้ประสิทธิภาพ แทนการกินยานอนหลับหรือยาแก้แพ้
เผยแพร่: 3 มิ.ย. 256…
This website uses cookies.