Thailand Sport Magazine Sponsored

รู้ยัง ! ไออย่างนี้…กินยาแบบไหน / พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ

Thailand Sport Magazine Sponsored
Thailand Sport Magazine Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   


คอลัมน์ “Golf Healing” โดย “พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกประจำโรงพยาบาลพระมงกุฎ และ โรงพยาบาลรามคำแหง มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมากกว่า 30 ปี somsak_doctor@hotmail.com”

“สวัสดีครับเฮีย” พี่หมอทันคุณชูสง่าในเช้าวันหนึ่งขณะฝนพรำ เฮียรับไหว้…ขยับปาก แต่ไม่มีเสียงออกมา แต่กลับเป็ฯกระแอมไอถี่ ๆ ส่อว่าหลอดลมอักเสบจากหวัดชัดเจน เจ้าเก่งสบตาพี่หมอแล้วกล่าว “เฮียกับผม เพิ่งตรวจ ATK ไปเมื่อกี้ เน็กกาทีฟ ทั้งคู่ครับ” “เออ! ดีมาก…เดี๋ยวพี่หมอหายาแก้ไอให้กิน ไอมีเสมหะอย่างนี้ ต้องกินยาละลายเสมหะดีกว่า” “แล้วผมไอแห้ง ๆ ครับ กินยาแบบไหน” “ของมึงไม่ต้องกินยา…เปลือง! ไปอดบุหรี่..ไป”

ยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ ยาขับเสมหะ แต่ละตัวยาใช้ต่างกันอย่างไร ถ้าไอแห้ง ๆ หรือไอมีเสมหะ เลือกใช้ตัวยาไหนดี

ยาแก้ไอ หรือ ยาละลายเสมหะ ที่เราเคยได้จากเภสัชกร หรือหมอ บางทีก็มาในรูปยาแก้ไอแบบเม็ด ยาน้ำ หรือยาละลายเสมหะเม็ดฟู่ ซึ่งก็อาจทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่า นี่เราต้องกินยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ หรือกินยาตัวไหน ไอแบบมีเสมหะต้องใช้ยาอะไร หรือเสมหะลงปอดไปแล้วอยากขับเสมหะ ใช้ยาตัวไหนดี วันนี้มาทำความเข้าใจกันหน่อย

เราต้องรู้ก่อนว่า ยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ และยาขับเสมหะ เป็นยาในกลุ่มยาบรรเทาอาการไอ ด้วยกันทั้งนั้น โดยแต่ละตัวก็จะมีสรรพคุณที่ต่างกันออกไป ดังนี้

– ยาแก้ไอที่ออกฤทธิ์ ระงับ หรือลดอาการไอ (Antitussive) ยาแก้ไอที่นิยมใช้กัน จะเป็นกลุ่มยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟน (Dextromethorphan), โคเดอีน (Codeine) หรือ ไฮโดรโคโดน (Hydrocodone) ซึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์กดศูนย์ควบคุมการไอที่สมอง ทำให้อาการไอลดลงได้ เหมาะกับผู้ที่มีอาการไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ ไอแห้งเรื้อรังจนเจ็บหน้าอกหรือไอจนอาเจียน แต่ไม่สามารถรักษาอาการไอจากการสูบบุหรี่ ไอจากโรคหืด ไอจากถุงลมโป่งพอง หรือจากผลข้างเคียงของยารักษาความดันได้ ในกรณีไอไม่มาก แพทย์จะไม่จ่ายยาแก้ให้ เพราะการไอเป็นกลไกที่ช่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ ทั้งยานี้อาจทำให้เสมหะเหนียวขึ้นได้ด้วย

ข้อควรระวัง คือ ยาอาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม จึงไม่ควรขับรถ หากใช้นานอาจทำให้เสพติดได้ และหากใช้เกินขนาด จะมีอาการคลื่นไส้ อาจียน เกร็งกระดูก พูดไม่ชัด หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ประสาทหลอน กดการหายใจ อาจถึงตายได้

– ยาขับเสมหะ (Expectorants) ที่นิยมใช้กัน ได้แก่ ไกวเฟนิซิน หรือ กลีเซอริล ไกรอะคอเลต รวมทั้งสมุนไพรไทยอย่างมะขามป้อม หรือมะแว้ง ซึ่งเหมาะกับอาการไอแบบมีเสมหะ เช่น หลอดลมอักเสบโรคภูมิแพ้ และจากโควิด 19 ยากลุ่มนี้มีสรรพคุณกระตุ้นการทำงานของเยื่อบุในระบบทางเดินหายใจให้ขับสารเหลวออกมามากขึ้น ทำให้เสมหะมีความเหนียวน้อยลง เพื่อให้ขับออกง่ายขึ้น ดังนั้น ในระยะแรก ผู้ป่วยจะรู้สึกว่ามีเสมหะเยอะไอมากขึ้นได้ และเมื่อไอเสมหะออกมาหมดจะรู้สึกโล่งขึ้น

– ยาละลายเสมหะ (Mucolytic) ที่นิยมใช้กัน ได้แก่ อะเวทิสซีสเทอีนบรอมเฮกซีน แอมบรอกซอล เป็นต้น ยากลุ่มนี้จะช่วยลดความเหนียวข้นของเสมหะ เพื่อให้ขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น โดยไม่ได้เพิ่มปริมาณของเสมหะเหมือนยาขับเสมหะ ผลข้างเคียงที่อาจพบแต่น้อยมาก คือ มีอาการเลือดออกในกระเพาะอาหาร

Thailand Sport Magazine Sponsored
ผู้สื่อข่าว กีฬา

ข่าวกีฬา นักกีฬา กีฬา ในร่ม indoor outdoor ต้องทำ sport ให้เป็น กีฬา หลักของประเทศ ดูข้อมูล กอล์ฟ บาสเก็ตบอล ฟุตบอล ว่ายน้ำ วอลเล่ย์บอล มวย แข่งรถ แบดมินตัน และ อีสปอร์ต Dedicated to all sport news from Thailand, with news updates, stories and event reports on many different types of sporting activities that the Thailand currently holds, across all of the asia.

This website uses cookies.