Thailand Sport Magazine Sponsored

รู้ยัง!…เมนูกัญชา สั่งยังไงไม่อันตรายต่อสุขภาพ / พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ

Thailand Sport Magazine Sponsored
Thailand Sport Magazine Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   


คอลัมน์ “Golf Healing” โดย “พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกประจำโรงพยาบาลพระมงกุฎ และ โรงพยาบาลรามคำแหง มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมากกว่า 30 ปี somsak_doctor@hotmail.com”

เมื่อเย็นวันนี้คุณชูสง่าเลี้ยงฉลองให้เจ้าเก่งในการที่ได้รางวัล “โฮลอินวัน” อย่างสวยงาม เจ้าอ้วนเลือกร้านนี้เพราะลือชื่อในเมนูอาหารใส่กัญชาที่กำลังนิยมกัน เจ้าเก่งคว้าเมนูมาอ่านเสียงดัง “กะเพราเนื้อกัญชา ยำกัญชากรอบ เล้งแซบใบกัญชา น้ำพริกกัญชา…..” “พอๆๆ มึงอย่าเพิ่งสั่งเดี๋ยวปรึกษาพี่หมอก่อน” เฮียชักแหยง กลัวกลับบ้านไม่ถูก “ได้ครับเฮีย…เดี๋ยวผมสั่งให้ รับรองไม่ทำร้ายสุขภาพ” ท่าทางพี่หมอจะมีเคล็ดลับในการสั่งเมนูกัญชา

กัญชา ถ้าเลือกกินให้เป็นแล้วจะเห็นผลดี

– กัญชานั้นถูกนำไปบริโภคในหลากหลายรูปแบบ และแต่ละวิธีการก็จะทำให้กัญชาปล่อยสารเมาออกมาไม่เท่ากัน โดยถ้าเด็ดใบมาเคี้ยวสดๆจะไม่เกิดอะไรขึ้นเลยกับร่างกาย แต่จะมีปฏิกิริยาต่อร่างกายก็เมื่อผ่านความร้อน ทำให้วิธีการบริโภคแต่ละแบบเกิดผลแตกต่างกัน วิธีที่รู้จักกันดี คือ การสูบ จมูกจะสูบควันเข้าไปที่ปอด สารเมาจะซึมเข้าสู่ปอดโดยซึมเข้าสู่กระแสเลือดของปอดได้เลย น้ำมันกัญชาที่นิยมเอามาแตะใต้ลิ้นก็เช่นกัน สามารถจะซึมเข้าสู่กระแสเลือดทางลิ้นได้อย่างอย่างรวดเร็วมาก

ในทางตรงข้าม ถ้าเรากินหรือดื่มเข้าไปโดยตรงกระบวนการออกฤทธิ์จะนานกว่าเพราะต้องผ่านการย่อยที่กระเพาะแล้วเริ่มดูดซึมที่ลำไส้เล็กแล้ววิ่งเข้าไปที่ตับ แล้วจึงจะปล่อยให้สารเมาวิ่งไปทั่วร่างกาย โดยใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง ฉะนั้นถ้าใครเผลอกินอาหารหรือขนมที่มีส่วนผสมของกัญชาเข้าไปในช่วงแรกแล้วยังไม่รู้สึกอะไรเลยควรให้ทิ้งเวลาไว้ก่อน อย่างเพิ่งรีบสวาปามเข้าไปมาก มิฉะนั้นจะเกิดอันตรายจากการบริโภคเกินขนาดได้

-เรื่องที่ควรรู้ก่อนจะลองเมนูกัญชา

1.ต้นกัญชาสามารถนำมาบริโภคได้ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นใบ กิ่ง ลำต้น หรือ ราก แต่จะยกเว้นช่อดอกและเมล็ด เพราะมีสารเมาสูงมาก ร่างกายจะรับไม่ไหว

2.สาร THC จะละลายได้ดีในไขมัน แต่ไม่ละลายในน้ำ ฉะนั้นการปรุงกัญชาด้วยการต้มหรือแกงที่ไม่มีกะทิ สารเมาจะละลายออกมาในปริมาณน้อยมาก แต่ถ้าเอาไปผัดหรือไปทอด น้ำมันจะเร่งการละลายและดึงสารเมาออกมาได้เนอะกว่า

เคยมีการทดลองเอาใบกัญชาที่เท่ากันไปทำอาหาร เมนูผัดจะได้สารเมาออกมามากกว่าเมนูต้มถึง 5 เท่า แต่ถ้าเป็นเมนูทอดจะได้สารเมามากกว่าเมนูต้มถึง 60 เท่า ดังนั้น เวลาสั่งเมนูกัญชาจึงไม่ควรสั่งเกิน 2 เมนู และไม่ควรเป็นเมนูทอด+ทอด ทอด+ผัด หรือ ผัด+ผัด ควรมีเมนูต้มเป็นหลัก เพื่อจะได้รับสารเมาไม่เกินขนาด

3.น้ำกัญชา ปกติมีสารเมาไม่เยอะ เพียงจากสาร THC ละลายน้ำได้ไม่ดีจึงไม่อันตราย แต่ควรนำไปทดสอบกับ อย.ก่อน เพื่อความปลอดภัย

4.เนยกัญชา ที่นิยมนำไปทำขนม เช่น คุกกี้ หรือ บราวนี่ ต้องกินระวัง เพราะไขมันละลายสารเมาได้ดี หากเผลอกินกันจนเพลิน อาจมีโอกาสเมาได้มากโดยไม่รู้ตัว

5.การบริโภคกัญชา ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุไม่ถึง 25 ปี เพราะสารในกัญชาส่งผลต่อสมองส่วนการเรียนรู้ การตัดสินใจ และความจำซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญของคนในช่วงนี้ หากกินเข้าไปในปริมาณมาก หรือต่อเนื่องนาน อาจส่งผลเสียให้สมองค่อยๆถูกทำงายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

6.คุณแม่ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตรไม่ควรกิน เพราะจะเป็นอันตรายต่อลูกได้รวมไปถึงคนที่มีอาการทางจิตเวช ซึมเศร้า เครียด ไบโพลาร์ ฯลฯ อาจทำให้อาการกำเริบได้

ดังนั้น การหาความรู้เกี่ยวกับการรู้จักการใช้อย่างเหมาะสมกัญชาก็จะสั่งผลดีต่อร่างกายเราได้แน่นอน

Thailand Sport Magazine Sponsored
ผู้สื่อข่าว กีฬา

ข่าวกีฬา นักกีฬา กีฬา ในร่ม indoor outdoor ต้องทำ sport ให้เป็น กีฬา หลักของประเทศ ดูข้อมูล กอล์ฟ บาสเก็ตบอล ฟุตบอล ว่ายน้ำ วอลเล่ย์บอล มวย แข่งรถ แบดมินตัน และ อีสปอร์ต Dedicated to all sport news from Thailand, with news updates, stories and event reports on many different types of sporting activities that the Thailand currently holds, across all of the asia.

This website uses cookies.