Thailand Sport Magazine Sponsored

นักกอล์ฟที่ชอบเป็นตะคริวจนเกมเปลี่ยน…ฟังทางนี้!! / พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ

Thailand Sport Magazine Sponsored
Thailand Sport Magazine Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   


คอลัมน์ “Golf Healing” โดย “พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกประจำโรงพยาบาลพระมงกุฎ และ โรงพยาบาลรามคำแหง มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมากกว่า 30 ปี somsak_doctor@hotmail.com”

เสียงประตูรีโมทหน้าบ้านเปิด ปลุกพี่หมอจากภวังค์ มองจากห้องรับแขกออกไป เห็นรถคุณชูสง่ากลับจากสนามซ้อมไดร์ฟขับเข้ามา พลันก็ประหลาดใจด้วยคนขับรถคือคุณชูสง่า ส่วนเจ้าเด็กเก่งนั่งอย่าสง่าผ่าเผยอยู่เบาะหลัง สอบสวนทนความภายหลังว่า เจ้าเก่งพลขับเกิดตะคริวกินน่องขวาขณะขับรถ เลยเกิดภาพเหตุการณ์เช่นนี้

“เฮียก็ชอบเป็นตะคริวนะ มันเกิดจากอะไร? แล้วจะป้องกันได้ยังไงละหมอ”

“ชอบก็ดีแล้วนี่เฮีย” เจ้าเก่งพูดในใจ

อาการตะคริวกิน เกิดขึ้นในกรณีแตกต่างกันไป เช่น ออกกำลังกายโดยที่ยืดหยุ่นร่างกายไม่เพียงพอ การนั่งอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ รวมไปถึงอากาศที่เย็นจัด

ตะคริว คือ อาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ทำให้เป็นก้อนแข็งและปวด ซึ่งเกิดขึ้นเฉียบพลัน โดยที่เราไม่สามารถบังคับได้ บางครั้งก็อาจมีอาการปวดหรือเจ็บกล้ามเนื้อมัดที่เกิดจากการหดเกร็ง การเป็นตะคริวนี้อาจเกิดกับกล้ามเนื้อส่วนใดก็ได้ อาจเกิดหลายมัดพร้อมกันก็ได้ ตะคริวอาจเกิดขึ้นได้แม้ในช่วงเวลาที่ไม่ควรเกิดจนอาจเกิดอันตรายขึ้นได้ เช่น ตอนว่ายน้ำ ตอนวิ่ง เล่นกีฬา ขับรถ หรือขณะนอนหลับกลางคืนจนสะดุ้งตื่น ซึ่งตะคริวกลางคืนมักเกิดกับกล้ามเนื้อขา และพบได้บ่อยในคนวัยกลางคน และผู้สูงอายุ บางรายอาจเกิดขึ้นที่หลังหรือที่หน้าท้อง การเกิดตะคริวจะเป็นอยู่เพียงแค่ช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น และอาการจะดีขึ้นใน 2 – 15 นาที อาการปวดอาจจะเรื้อรังเป็นวันก่อนที่จะหายไปอย่างสมบูรณ์ การเกิดตะคริวทำให้เกิดปัญหาการเคลื่อนไหวในจุดนั้น ๆ เราจึงควรจำเป็นต้องรู้จักการป้องกัน รวมทั้งสาเหตุและการรักษาที่ถูกต้อง

สาเหตุการเกิดตะคริว มีดังนี้

1.เอ็นกล้ามเนื้อไม่ได้ยืดตัวบ่อย ๆ จึงมีการหดรั้งหรือเกร็งได้ง่าย

2.เซลล์ประสาทที่ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ ทำงานผิดปกติในขณะหลับ

3.เกิดจากการใช้ยาบางกลุ่ม เช่นยาขับปัสสาวะ หรือยาราโลซิฟีน เป็นต้น

4.การดื่มน้ำน้อยเกินไปทำให้เซลล์กล้ามเนื้อขาดน้ำ

5.เกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล จากการเสียเหงื่อ ท้องเดิน อาเจียน ทำให้โซเดียมและโพแทสเซียมต่ำ

6.ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ

7.ใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้นทำงานหนักมากเกินไป หรือบาดเจ็บถูกกระแทกระหว่างเล่น

8.การออกกำลังกายหนัก หรือวอร์มอัพไม่เพียงพอ การนั่ง นอนหรือยืนในท่าที่ไม่สะดวกนาน ๆ

จะป้องกันตะคริวได้อย่างไร

1.อบอุ่นร่างกาย ยืดเส้นยืดสายก่อนเริ่มออกกำลังกาย และออกกำลังกายสม่ำเสมอวันละ 30 – 60 นาที

2.ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 – 10 แก้ว หรือ 2 ลิตร

3.กินอาหารที่มีแคลเซียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียม เช่น ปลา นม ผักโขม กล้วยหอม ลูกเกด เป็นต้น

4.ดื่มนมก่อนนอน เพิ่มแคลเซียม โดยเฉพาะผู้ที่มักเป็นตะคริวระหว่างนอนกลางคืน

5.ฝึกยืดกล้ามเนื้อมัดที่เกิดตะคริวขึ้นง่าย ๆ

6.ระมัดระวังการเกร็งยกของหนัก หรือกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อหนักอย่างต่อเนื่อง

เกิดตะคริวแล้วจะแก้อย่างไร

1.หากเกิดตะคริวขณะออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ให้ยืดกล้ามเนื้อและยวดบริเวณนั้นประมาณ 1 – 2 นาที หากอาการยังไม่หายดี ให้นวดต่อไปเรื่อย ๆ

2.หากเกิดตะคริวขณะว่ายน้ำ ต้องตั้งสติ พยายามทำให้ตัวของเราลอยน้ำตลอดเวลา หากเกิดตะคริวขึ้นที่น่องด้านหลัง ให้หงายตัวขึ้น ใช้มือพยุงน้ำให้ลอยและยกขาขึ้นเหนือน้ำเข้าหาใบหน้า หากเกิดตะคริวหลังขาอ่อน ให้พยายามอยู่ในท่านอนคว่ำและพับข้อเท้าเข้าหาด้านหลัง หากเกิดตะคริวที่ข้อเท้า ให้นอนหงายและให้เท้าอยู่บนผิวน้ำ แล้วนวดหรือหมุนเบา ๆ ที่ข้อเท้า

3.หากเป็นตะคริวขณะที่นอน ให้ยืดขาให้ตรง กระดกปลายเท้าขึ้นค้างไว้ 5 นาที โดยให้ทำแบบนี้ 5 – 10 ครั้ง แล้วนวดกล้ามเนื้อขาเป็นวงกลมจนกว่าจะหาย

Thailand Sport Magazine Sponsored
ผู้สื่อข่าว กีฬา

ข่าวกีฬา นักกีฬา กีฬา ในร่ม indoor outdoor ต้องทำ sport ให้เป็น กีฬา หลักของประเทศ ดูข้อมูล กอล์ฟ บาสเก็ตบอล ฟุตบอล ว่ายน้ำ วอลเล่ย์บอล มวย แข่งรถ แบดมินตัน และ อีสปอร์ต Dedicated to all sport news from Thailand, with news updates, stories and event reports on many different types of sporting activities that the Thailand currently holds, across all of the asia.

This website uses cookies.