เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2566 สมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และ เทศบาลนครแหลมฉบัง เปิดโครงการ “ช่วยชีวิต ลดวิกฤติการจมน้ำ” ปีที่ 4 ประจำปี 2566 ณ สระว่ายน้ำ เทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
โดยมี พลเอกธนิส พิพิธวณิชการ ที่ปรึกษาสมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทยและประธานบริหารโครงการพิเศษ พร้อมด้วย นายจิระเมศร์ ธนกุลอธิโรจน์ ประธานภาคกลาง 1 , นายอรรจน์ วิสุทธิถาวรวงศ์ ผู้จัดการกิจการเพื่อสังคม บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และ นายสันติ ศิริตันหยง รองนายกเทศมนตรีนครแหลมฉบัง เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการ
พลเอกธนิส พิพิธวณิชการ ที่ปรึกษาสมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทยและประธานบริหารโครงการพิเศษ กล่าวว่า “การจมน้ําเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี สมาคมกีฬาว่ายน้ําแห่งประเทศไทยร่วมมือกับ บริษัท ไทยออยล์ จํากัด (มหาชน) และเทศบาลนครแหลมฉบัง เล็งเห็นถึงความสําคัญ จึงริเริ่มโครงการ ช่วยชีวิต ลดวิกฤตการจมน้ํา ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 เพื่อให้เยาวชน จํานวน 300 คน ได้เรียนรู้ทักษะการว่ายน้ํากับบุคลากรของสมาคมฯและนิสิตจากมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อช่วยลดการเสียชีวิตจากการจมน้ํา และกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงการรณรงค์ส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยจากอุบัติเหตุทางน้ํา”
ทาง นายอรรจน์ วิสุทธิถาวรวงศ์ ผู้จัดการกิจการเพื่อสังคม บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เผยว่า “บริษัทได้ดําเนินธุรกิจบนพื้นฐานของการดูแลสังคม รวมถึงส่งเสริมทักษะกีฬาว่ายน้ําให้กับเยาวชนไทย เพื่อลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุทางน้ํา นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่ได้ร่วมกับสมาคมกีฬาว่ายน้ําแห่งประเทศไทย ดําเนินโครงการ ช่วยชีวิต ลดวิกฤตการจมน้ํา เป็นปีที่ 4 ในพื้นที่เทศบาลนครแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นที่ตั้งกิจการของบริษัท”
ขณะที่ นายสันติ ศิริตันหยง รองนายกเทศมนตรีนครแหลมฉบัง กล่าวว่า “ถือเป็นโครงการที่ได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เป็นการช่วยส่งเสริมให้เด็กด้อยโอกาสได้ฝึกฝน ทักษะการว่ายน้ํา ลดความสูญเสีย ซึ่งเทศบาลนครแหลมฉบังรู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้สนับสนุนส่งเสริมประชาสัมพันธ์โครงการไปสู่เยาวชนเพื่อได้รับทราบข่าวอย่างทั่วถึง ตลอดจนเข้าร่วมโครงการ”
สำหรับโครงการ “ช่วยชีวิต ลดวิกฤตการจมน้ํา” ปีที่ 4 ประจําปี 2566 ระยะเวลาดําเนินการทั้งสิ้น 9 เดือน ตั้งแต่ มกราคม ถึง กันยายน 2566 โดยแบ่งการสอนให้กับเยาวชนอายุตั้งแต่ 7 –14 ปี ออกเป็น 2 ช่วงเวลา จํานวน 10 ชั่วโมง