สำนักงานส่งเสริมการลงทุนและการค้าโปแลนด์ (Polish Investment and Trade Agency) หรือ PAIH ได้ร่วมจัดงาน Poland-Thailand Business Forum 2022 จัดขึ้นในวันที่ 29 พ.ย. 2565 ณ โรงแรมแอทธินี โดย สถานเอกอัครราชทูตโปแลนด์ ประจำกรุงเทพฯ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการลงทุนและการค้าโปแลนด์ (PAIH) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment หรือ BOI) เพื่อฉลองครบรอบ 50 ปีของความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศโปแลนด์และประเทศไทย และกระชับความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เปิดงานโดย ประธาน PAIH คุณ Krzysztof Drynda รองเลขาธิการ BOI คุณวิรัตน์ ธัชศถุงคารสกุล และเอกอัครราชทูต Waldemar Dubaniowski
ภายในงาน มร. รอเบิร์ต ซายอนช์ ศูนย์การวางแผนการลงทุน สำนักงานส่งเสริมการลงทุนและการค้าโปแลนด์ สำนักงานใหญ่ ประเทศโปแลนด์ ได้เดินทางมาร่วมงานและนำเสนอหัวข้อสำหรับการลงทุนในโปแลนด์ รวมถึงข้อได้เปรียบของนักลงทุนหากสนใจลงทุนผ่าน PAIH เพราะ PAIH ได้รับความร่วมมือกับทางเขตเศรษฐกิจพิเศษ สามารถอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนในการให้คำปรึกษาด้านสถานที่ ฐานข้อมูลออนไลน์ของแผนการลงทุน การติดต่อกับรัฐบาลท้องถิ่นรวมถึงส่วนกลาง สามารถแนะนำสตาร์ตอัป ผู้ให้บริการทางเทคโนโลยี ตลอดจนถึงสนับสนุนในส่วนของการวิจัยและการพัฒนา
คุณรอเบิร์ตยังได้นำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2565 PAIH ได้ความร่วมมือในโครงการไปทั้งหมด 185 โครงการ ซึ่งมีมูลค่าประกาศ 12.5 พันล้านยูโร นอกจากนั้นยังให้ข้อมูลพื้นฐานของประเทศโปแลนด์ที่มีการเติบโตขึ้นของตลาดอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนทั้งตลาดที่ควบคุมโดยรัฐไปจนถึงตลาดเสรี เพื่อเป็นข้อสนับสนุนให้มีการลงทุนเพิ่มในประเทศโปแลนด์
TIAS ที่เป็นเครือข่ายของบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและบริการทางการเงินโดยเฉพาะด้านกฎหมายเศรษฐกิจและการบริหารโครงการลงทุน อธิบายเพิ่มเติมเรื่องการเริ่มต้นธุรกิจในประเทศโปแลนด์ โดยครอบคลุมในหัวข้อ ดังนี้ จะเริ่มบริษัทในโปแลนด์อย่างไร ระบบภาษีของโปแลนด์เป็นอย่างไร และทำไมการลงทุนในโปแลนด์ถึงคุ้มค่า
นอกจากนี้ยังตามมาด้วยกรณีความสำเร็จจากนักลงทุนไทยในประเทศโปแลนด์ อย่างบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีการลงทุนด้านอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากไก่ หรือบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ที่ลงทุนในอุตสาหกรรมพลาสติกและรีไซเคิลพลาสติก และบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารทะเลและการแปรรูปอาหารทะเล พูดถึงสาเหตุที่พวกเขาเลือกลงทุนในโปแลนด์เนื่องจากที่ตั้งอันเป็นจุดยุทธศาสตร์ของโปแลนด์ ง่ายต่อการกระจายสินค้าในตลาดยุโรป มีแรงงานที่มีฝีมือ วัตถุดิบในการผลิตที่มีราคาเหมาะสม และตอบสนองต่อปริมาณการผลิต
คุณวิรัตน์ ธัชศฤงคารสกุล รองเลขาธิการ BOI (Thailand Board of Investment) นำเสนอมาตรการสนับสนุนการลงทุนของไทยที่มีต่อนักลงทุนต่างชาติ เพราะ BOI มีบทบาทในการส่งเสริมการลงทุนในภาคเอกชนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศและบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ตามมาด้วยกรณีตัวอย่างความสำเร็จของนักลงทุนโปแลนด์ในประเทศไทยอย่างบริษัท โคมาร์ช (ประเทศไทย) จำกัด หรือ บริษัท ซีชาร์ค จำกัด ซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี และบริษัท เมอร์กาโต้ เมดิคัล (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้ผลิตถุงมือทางการแพทย์ พูดถึงสาเหตุที่พวกเขาเลือกลงทุนทั้งในประเทศไทยว่ามีความพร้อมในหลายด้าน ทั้งอุปสงค์และอุปทาน
PAIH เป็นองค์กรที่ช่วยในการเชื่อมโยงการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับโปแลนด์ให้ได้รับสะดวกมากขึ้น และหากใครต้องการสัมผัสกับสินค้า, เทคโนโลยี และนวัตกรรมจากโปแลนด์ สามารถติดต่อทาง PAIH ได้โดยตรง มร.นอร์เบิร์ต บาค ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการลงทุนและการค้าโปแลนด์ สำนักงานกรุงเทพฯ ประเทศไทย นำเสนอภาพรวมทางการค้าระหว่างไทยและโปแลนด์ในงาน Poland-Thailand Business Forum 2022 นี้ ทำให้ทราบว่าการค้าระหว่างไทยและโปแลนด์มีการเติบโตอย่างโตเนื่องในอัตราที่น่าทึ่ง ประมาณ 1.2 พันล้านดอลล่าห์สหรัฐในปี 2563, ประมาณ 1.5 พันล้านดอลล่าห์สหรัฐในปี 2564, และประมาณการณ์ว่ายอดการค้ารวมระหว่างสองประเทศจะเทียบเท่ากับ 1.9 พันล้านดอลล่าห์สหรัฐในปี 2565 นี้ นอกจากนี้ยังเห็นถึงประเด็นสำคัญที่ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและโปแลนด์เป็นความสัมพันธ์ที่เอื้อผลประโยชน์แก่กันอย่างแน่นอน เพราะการส่งออกของโปแลนด์มายังไทยเพิ่มขึ้นถึง 42% ในขณะที่การส่งออกของไทยไปโปแลนด์ก็เพิ่มขึ้น 26% ภายในปี 2564 ทำให้เห็นได้ว่าการค้าระหว่างโปแลนด์และไทยกำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วที่จะทำให้เราเห็นการพัฒนาในการลงทุนของทั้งสองประเทศ เนื่องจากทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายในปีที่มีการระบาดครั้งใหญ่
ท่านสื่อมวลชนสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มิดัส คอมมิวนิเคชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือติดต่อด้านธุรกิจที่สำนักงานส่งเสริมการลงทุนและการค้าโปแลนด์
ที่มา: มิดัส คอมมิวนิเคชั่น อินเตอร์เนชั่นเนล
เผยแพร่: 3 มิ.ย. 256…
This website uses cookies.