Thailand Sport Magazine Sponsored

ถึงท่านนายกฯ จะดันไทยเป็น “ศูนย์กลาง E-sport” ต้องทำอย่างไร? – เดลีนีวส์

Thailand Sport Magazine Sponsored
Thailand Sport Magazine Sponsored

เห็นข่าว พล.อ.ประยุทธ์ ประกาศจะผลักดันไทยให้เป็น ศูนย์กลางการแข่งขันด้าน E-Sport ผ่านนางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมอบหมายให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กับ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) เป็นผู้จัดการในเรื่องนี้

พอประกาศปุ๊บ ก็มีเสียงวิจารณ์ปั๊บ หลายคนมองว่า “เป็นเกมการเมืองเพื่อดึงเอาฐานเสียงคนรุ่นใหม่ บ้างก็ว่าทำไม่ได้หรอกนโยบายหลายอย่างก็ไม่เคยทำได้” อันนี้ชาวเกมเมอร์เขาพูดกันนะครับผมไม่ได้พูด แต่ในที่นี้ผมจะไม่เอาเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องนะครับ เราพูดจะถึงมุมมองเรื่อง E-sport ล้วนๆ 

เอาจริงๆ การที่นายกฯ ออกมาพูดเกี่ยวกับเรื่อง E-sport ก็ถือเป็น “สัญญาณที่ดี” สัญญาณนึง แต่ถ้าจะทำกันจริงๆ จังๆ ถือว่า กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ DES ยังมีงานอีกมากที่ต้องทำ หากต้องการจะเป็น ศูนย์กลางการแข่งขันด้าน E-Sport จริงๆ เหมือนกับประเทศที่ถูกเรียกว่าเป็น Home of Esport อย่าง เกาหลีใต้ หรือประเทศฝั่งตะวันตก อย่างยุโรป หรือที่เขาก้าวหน้ากันไปไหนถึงไหนแล้ว

ขอบคุณภาพจาก Thaigov.

เปลี่ยน Mindset ผู้ใหญ่และเด็กให้มองเกมเสียใหม่

“ต่อให้ตั้งองค์กรมากี่องค์กร เด็กไทยคนไทยได้แชมป์มากี่ครั้ง ถ้า mindset ผู้ใหญ่ไม่เปลี่ยน ไทยก็ไม่มีทางเป็นศูนย์กลาง E-Sport ได้” เพราะทุกวันนี้ก็ยังเห็นมีสื่อ หรือแม้กระทั่งมีผู้บุคคลระดับชั้นผู้ใหญ่ทั้ง ตำรวจ สว. พูดแบบว่าไม่ว่าจะเกิดเหตุอะไรก็โทษเกมไว้ก่อน อันนี้ผมไม่ได้พูดอยู่ลอยๆนะครับลองไปค้นดูตามสื่อต่างๆ ดูก็ได้ ถ้าจะทำกันจริงๆ ต้องเปลี่ยน “ภาพจำของเกมในสังคมไทย” ให้ได้อย่างเกาหลีใต้ ที่นั่นเขาทำเป็นวัฒนธรรมกันเลยทีเดียว นักกีฬา E-sport นี่แทบจะเหมือน “ไอดอล” คนนึงเลย ลองดูอย่าง Faker ก็ได้เวลาพูดอะไรแต่ละทีนี่คนจับจ้องตลอด วัดความดังง่ายๆ คือแม้คนที่ไม่ได้เล่นเกมก็ยังรู้จักเขาเลย

ถ้าถามว่าผมพิสูจน์ได้อย่างไรเพราะผมเคยได้ไปเยือนเกาหลีใต้ครั้งนึง โชคดีที่ช่วงนั้นกำลังมีการแข่งขัน E-sport พอดี สังเกตได้เลยว่าเวลามีการแข่งขันนอกจากจะมีการถ่ายทอดสดใน แพลตฟอร์มออนไลน์ แล้ว ในแพลตฟอร์มทั่วไปอย่าง TV ก็เคยจะมีช่องที่ถ่ายหรือทำสกู๊ปและผลิตรายการวาไรตี้โดยเฉพาะอย่าง OGN หรือแม้แต่ตามข้างถนนก็ยังมีการประชาสัมพันธ์ รวมถึงมีการถ่ายทอดสดร่วมด้วย เพื่อให้มันซึมซับเข้าไปว่า E-sports ก็เป็นหนึ่งใน POP Culture ประจำชาติ เขาทำจนแบบว่า ชาวเกาหลีเคยนิยามเกม StarCraft เป็นกีฬาประจำชาติเทียบเท่าเทควันโดได้ ต้องทำถึงขั้นนั้นเลย

นอกจากนี้รัฐไทยก็ต้องให้ความรู้กับผู้ใหญ่ว่า “การเล่นเกมมันไม่ได้เลวร้ายเสมอไป” หากพ่อแม่มีเวลาเอาใจใส่ลูกที่มาก พาลูกออกไปทำอย่างอื่น ซึ่งจะโยนภาระจะให้ฝั่งพ่อแม่เพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้ ปัจจัยคือสภาพสังคม คุณภาพชีวิตก็ต้องดีพอให้พ่อแม่มีเวลาดูลูกด้วย (อันนี้เป็นโจทย์ที่รัฐต้องแก้ให้ได้) เพราะปัญหาเด็กติดเกมส่วนนึงก็มาจาก การที่พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ นี่แหละ แล้วต้องอย่าลืมว่า ผู้พัฒนาหรือแพลตฟอร์มจำหน่ายไม่ได้ยัดเยียดเกมมาให้เด็กเล่น เด็กในยุคปัจจุบันสามารถเข้าถึงเกมเองได้ แล้วถ้าพูดถึงเกมที่เป็นสาเหตุเริ่มต้นให้คนไทยเริ่มกล่าวโทษว่าเกมเป็นเหตุแห่งความรุนแรงอย่าง GTA ถ้าเรามองให้ดีๆ แล้ว ตัวเกมก็เพียงแค่สะท้อนอีกมุมนึงของสังคมเท่านั้นเอง ถ้าเราสามารถสอนให้เด็กรู้จักเรียนรู้และแยกแยะ ว่าอันไหนคือโลกจริง โลกของเกม อันไหนมีควรทำไม่ควรทำ โดยเริ่มจากสถาบันที่ใกล้ตัวเด็กที่สุดอย่าง สถาบันครอบครัว หรือ สถาบันการศึกษา ผมเชื่อปัญหาเด็กติดเกมก็น่าจะลดน้อยลงไปได้

ส่วนที่ต้องปรับมุมมองของเด็กคือ ต้องรัฐทำให้เด็กมองว่า ในวงการนี้ไม่ได้มีนักกีฬา E-sport เพียงอย่างเดียว เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นนักกีฬา E-sport ได้ อีกทั้งวงการ E-sport บ้านเรายัง ขาดบุคคลการในวงการ E-sport อีกมาก ทั้งโค้ช ขาด Analysis Shoucaster ขาด Programmer หรืออะไรที่ดูจะไม่เกี่ยวข้องอย่าง Creative, Marketing, นักโภชนาการ หรือแม้นักจิตวิทยา ก็มีความจำเป็นต่อการพัฒนาวงการมากๆ ไม่แพ้กัน คือผมจะสื่อว่า ไม่ว่าจะเรียนสาขาที่เกี่ยวข้องกับ E-sport หรือไม่ ก็สามารถทำงานในวงการ E-sports ได้ ซึ่งพื้นที่ในวงการยังเปิดกว้างสำหรับทุกคนอยู่แล้ว

โดยจากที่เห็นหลายๆ สถานศึกษาที่มีสาขา E-sport ก็เริ่มมีสอดแทรกแง่มุมอื่นๆ ทั้ง การบริหารธุรกิจ (E-sport Bissness) การจัดการแข่งขัน (E-sport Organize) เพิ่มเข้ามาแล้ว ถ้ารัฐสามารถให้ความรู้และเปิดมุมมองแก่ให้กับเด็กและผู้ใหญ่เพิ่มเติมได้ ผมเชื่อวงการอีสปอร์ตไทยน่าจะไปไกลมากกว่านี้แน่นอน

ถ้าคิดจะพัฒนาต้องพัฒนารากฐานเริ่มจาก “Community”

ที่เกาหลีนั้นมี Community ของหลายๆ เกมที่แข็งมาก และจุดเริ่มต้นของมันก็มักจะเกิดมาจากร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ (ร้านเกม) หรือที่เรียกว่า PC BANGS  ตัวผมเคยมีโอกาสได้เข้าไปสัมผัส 1 ใน PC BANGS ของเกาหลี แม้จะเป็นร้านนอกเมือง (แบบต่างจังหวัด) แต่ก็ยังมีบรรยากาศเหมาะกับการเล่นเกม สเปกของคอมพ์เทพ อินเทอร์เน็ตเร็วๆ สิ่งอำนวยความสะดวกน้ำขนมมีพร้อม และไม่มีความอึมครึมเหมือนของไทย ไม่มีการมั่วสุม ไม่มีการทำผิดกฏหมาย แถมยังมีมากยั่งกะดอกเห็ด ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือ “เพชรเม็ดงาม” แห่งวงการ E-sport ก็มักจะมารวมอยู่ในนั้น มากกว่าที่จะเล่นอยู่ในบ้านเพราะเน็ตก็แรงขนมก็มี จะเห็นได้จากนักกีฬาเกาหลีหลายคนก็มักจะเริ่มต้นมาจากใน PC BANGS  นั่น หละ 

แต่พอมองย้อนกลับมาในไทย ก็ต้องบอกว่าสถานการณ์ร้านเกมในไทยอาจจะ กำลังถึงจุดจบ หลายๆ ร้านคนเริ่มเล่นน้อยลง เริ่มแบกรับค่าใช้จ่ายไม่ไหว แถมคนก็เลือกที่จะเล่นเกมที่บ้านมากขึ้น ถ้ารัฐเลือกที่จะไม่อุ้มหรือปรับเปลี่ยนจัดระเบียบร้านเกม อีกสิ่งนึงที่ทำได้คือการ ส่งเสริม หรือเข้าเป็นแหล่งเงินทุนให้กับการเเข่งขันระดับ C-Teir หรือระดับเล็กอย่างเช่นในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัย หรือตามกลุ่มเกมให้มากขึ้น จะกำหนดให้ทำ Proposal เข้ามาขอเงินจากสมาคมก็ได้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันพัฒนาฝีมือและดึงให้คนยังสนใจเกมนั้นอยู่ เพราะ  เกมจะอยู่ได้ก็เพราะ Community  นักกีฬาก็เป็นส่วนนึงใน Community ถ้า Keep Community ไม่ได้ นักกีฬาก็จบ เกมนั้นก็จบไปด้วย สิ่งนี้มันแสดงให้เห็นว่า Community ของเกมนั้นสำคัญขนาดไหน

ถ้าจะทำระบบ Academy ต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังด้วย

แม้ผมจะเห็นด้วยกับระบบ Academy แต่เมื่อมองย้อนไปดูระบบ Academy ของเกาหลีที่หลายๆ ปี ต้องมีเด็กหลายคนต้องได้รับการบำบัดจากการเล่นเกมมากเกินไป จึงเห็นว่าถ้าทำให้มันจริงจัง ผมก็แนะนำว่าอยากให้หลายๆ ทีมมีระบบ Academy เป็นของตัวเอง (หรือถ้ารัฐจะสร้าง Academy เองก็ได้) แต่ทางภาครัฐต้องลิงก์ทางที่สามารถไปต่อได้เช่น เกาหลีใต้ได้บริษัท GEN.G จาก อเมริกามาลงทุน ข้อแลกเปลี่ยนก็คือ สามารถสมัครทุนการศึกษาด้านอีสปอร์ตกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาได้ สำหรับในส่วนประเทศไทย ถ้าไม่ลองหาบริษัทต่างชาติมาลงทุน ก็ลองไปดีลทำ MOU กับทางทีมหรือมหาวิทยาลัยทุนการศึกษาด้านอีสปอร์ตกับมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ คือต้องทำให้มี Safety Net รองรับคนที่ล้มไว้เพื่อไม่ให้เกิดเป็นปัญหาสังคมด้วย

และถ้าถามว่าการส่งนักกีฬาไปแข่งขันต่างประเทศหรือเล่นกับทีมชั้นนำของโลกแล้ว เราจะได้อะไร เดี๋ยวข้อต่อไปผมจะมาอธิบายให้ฟังครับ

ขอบคุณภาพจาก Gen.G Academy

ปั้นนักกีฬา “ส่งออก” ได้ก็ควรทำ

ผมว่านี่ก็เป็นอีกสิ่งนึงที่ผมคิดว่าควรจะทำอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะแสดงให้เห็นว่าเราเก่งแค่ไหน นักกีฬาที่ได้ไปเล่นในทีมชั้นนำของต่างประเทศ ต่อให้จะไม่ประสบความสำเร็จ เขาก็จะนำประสบการณ์ที่ได้รับมาพัฒนาวงการให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ถ้าจะยกตัวอย่างให้ชัดๆ ก็คือพี่ Mickie หรือ ปองภพ รัตนแสงโชติ ที่เคยไปเล่นให้กับทีมระดับโลกอย่าง EnvyUs หรือที่ใน Overwatch Leauge คือทีม Dallas Fuel ซึ่ง ณ ตอนนี้พี่ Mickie เขาก็นำประสบการณ์ในการกลับมาช่วยพัฒนาวงการ E-sport อยู่หลายครั้ง ทั้งในฐานะผู้เล่นและทั้งในฐานะโค้ช ผลงานก็ไม่ใช่ที่ไหนไกลทีม Bacon Time ขวัญใจมหาชนนั่นเอง

แต่ถ้าถามว่าในมุมนี้รัฐจะช่วยอะไรได้ก็มีตั้งหลายทาง เช่น สนับสนุนเงินค่าเดินทางในการไปแข่งขันต่างประเทศ หรือร่วมกับภาคเอกชน ดึงการแข่งขันระดับโลกเข้ามาจัดในประเทศไทย หรือสิ่งที่สำคัญที่สุดคือช่วยทลาย “กำแพงภาษา” ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของนักกีฬาไทย เพราะนักกีฬาเรามีศักยภาพอยู่แล้ว ถ้ามีเวทีหรือสามารถทลายกำแพงตรงนี้ได้ เราอาจจะได้เห็น คนที่เก่งเหมือนกับ Jabz , 23Savage หรือพี่ Mickie ที่ได้ไปโลดแล่นกับทีมโลกอีกสัก 10 คนก็ได้

นี่เป็นเพียงตัวอย่างของงานที่รัฐไทยต้องทำและให้การสนับสนุนเท่านั้น ยังมีงานและรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากที่ยังไม่ได้อธิบายซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนมีความสำคัญ หากรัฐไทยนั้นต้องการ จะผลักดันให้ประเทศไทยให้เป็น ศูนย์กลางการแข่งขันด้าน E-Sport จริงๆ 

สวัสดีครับ.

——————————————–
GAMESTALK BY INSIDE THE GAME
คอลลัมน์โดย Wacther
ติดตามรีวิวเกมส์ และ อื่นๆที่น่าสนใจได้ที่ : INSIDE THE GAME

Thailand Sport Magazine Sponsored
ผู้สื่อข่าว กีฬา

ข่าวกีฬา นักกีฬา กีฬา ในร่ม indoor outdoor ต้องทำ sport ให้เป็น กีฬา หลักของประเทศ ดูข้อมูล กอล์ฟ บาสเก็ตบอล ฟุตบอล ว่ายน้ำ วอลเล่ย์บอล มวย แข่งรถ แบดมินตัน และ อีสปอร์ต Dedicated to all sport news from Thailand, with news updates, stories and event reports on many different types of sporting activities that the Thailand currently holds, across all of the asia.

This website uses cookies.