9 สิงหาคม 2564 | โดย ศรีสิทธิ์ วงวศ์วรจรรย์
54
ปิดฉากไปแล้วสำหรับ “โอลิมปิก 2020” ที่ ‘โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น’ และสิ่งที่น่าสนใจต่อจากนี้คือการนับถอยหลังเพื่อพบกับ “โอลิมปิก 2024” ที่จะจัดขึ้นที่ ‘ปารีส ประเทศฝรั่งเศส’ ซึ่งจะมีขึ้นในอีกประมาณ 1,080 วันข้างหน้านี้
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนส่อง “งานโอลิมปิก 2024 ทั้งกีฬา สถานที่จัดแข่ง และแนวคิดล้ำๆ นอกจากนี้ยังมีอะไรที่น่าสนใจอีกบ้าง?”
1.ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของงานโอลิมปิกครั้งนี้?
งานการแข่งขัน “โอลิมปิก 2024” (Paris 2024) มีอีกชื่ออย่างเป็นทางการว่า “โอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 33” ในการจัดงานครั้งนี้ ถือได้ว่าประเทศฝรั่งเศสได้กลับมาเป็นเจ้าภาพในการจัดมหกรรมกีฬาโลกในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา
โดยประเทศฝรั่งเศสได้เคยเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกครั้งแรกในปี 2443 (ค.ศ.1900) ครั้งที่สอง 2467 (ค.ศ.1924) ก่อนจะได้รับเกียรติในการเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งที่สามต่อในปี 2567 (ค.ศ.2024) ที่กำลังจะมาถึงในสามปีข้างหน้านี้paris
2.การแข่งขันเริ่มเมื่อไหร่-จบวันไหน?
– “พิธีการเปิด” งานโอลิมปิกอย่างเป็นทางการ จะมีขึ้น ณ วันที่ 26 กรกฎาคม 2567
– “พิธีปิด” งานโอลิมปิก จะมีขึ้น ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2567
สิริรวมทั้งหมด 17 วัน
credit: Street United
3.การแข่งขันปีนี้มีการกีฬาทั้งหมดกี่ชนิด กีฬาอะไรน่าสนใจบ้าง?
มีการแข่งขันกีฬาทั้งหมด 32 ชนิด และมีรอบการแข่งขันทั้งหมด 329 รอบ
กีฬาที่น่าสนใจในครั้งนี้: กระดานโต้คลื่น ปีนหน้าผา และสเกตบอร์ด โดยกีฬาเหล่านี้ได้มีการเพิ่มขึ้นตั้งแต่การแข่งขันโอลิมปิก 2020 ที่โตเกียว
กีฬาชนิดใหม่ที่เพิ่มขึ้น: การแข่งเต้น “เบรกแดนซ์”
4.มีนักกีฬาทั้งหมดกี่คน ทำไมปีนี้ถึงเรียกได้ว่าเป็นปีแห่ง “ความเสมอภาค” ?
ในการแข่งขันครั้งนี้จะมีนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งหมดจำนวน 10,500 คน โดยจัดสรรให้มีนักกีฬาเพศชายและเพศหญิง ในสัดส่วนที่เท่าๆ กันถึงเกือบ 50%
ทั้งนี้ในปีนี้อาจถือได้ว่าเป็นปีที่จัดการแข่งขันได้ “มีความเท่าเทียมกัน” มากที่สุด นับตั้งแต่ที่มีการจัดงานมหกรรมกีฬานี้ เพราะในอดีตสัดส่วนนักกีฬาเพศหญิงยังถือว่ามีจำนวนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับจำนวนนักกีฬาเพศชาย
5.“หมู่บ้านนักกีฬา” มีไฮท์ไลท์น่าสนใจอย่างไร?
ทางเจ้าบ้านผู้จัดงานได้ให้ข้อมูลว่า หมู่บ้านนักกีฬา จะอยู่ที่บริเวณ “แซน แซ็ง เดอนี” (Seine-Saint-Denis) โดยได้ออกแบบให้เป็น “อารยสถาปัตย์” ซึ่งมีลักษณะการใช้งานที่เป็นมิตรอย่างเท่าเทียมกับ “ผู้พิการ” ด้วย ทั้งตัวอาคาร สถานที่ การสื่อสาร การขนส่งคมนาคม โดยหมู่บ้านนักกีฬานี้ถือได้ว่าอาจเป็น “โครงการตัวอย่างรูปแบบอารยสถาปัตย์” ก็ว่าได้
6.เบื้องหลังคอนเซ็ปท์ โลโก้ “ปารีส 2024” และการตีความสุดฮา
โลโก้ “ปารีส 2024” ออกแบบโดย ซิลแว็ง บัวเย่ร์ (Sylvain Boyer) นักออกแบบชาวฝรั่งเศส
โดยองค์ประกอบหลักในการออกแบบประกอบด้วย 3 สิ่งคือ เหรียญทอง คบเพลิง และ มารีอานน์ (Marianne) สตรีผู้เป็นตัวแทนแห่งเสรีภาพและเสมอภาคของฝรั่งเศส
ในส่วนของด้านการออกแบบ ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ เหรียญทอง คบเพลิง และ “มารีอาน” สตรีผู้เป็นตัวแทนแห่งเสรีภาพ-เสมอภาค ของฝรั่งเศส (Marianne)
ในขณะที่การใช้สี มีการใช้ “สีทอง” ยังสื่อถึงความช่วงโชติและความกล้าหาญของมนุษย์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ บนโลกใบนี้ด้วย และสไตล์ตัวอักษรยังได้แรงบันดาลใจจากศิลปะแบบ “อาร์ทเดโค” (Art Deco) ด้วย ซึ่งเป็นตัวอักษรที่ได้รับความนิยมในช่วงปี 2467
นอกจากนี้ยังมีการออกแบบโลโก้ในลักษณะที่เล่นกับ “พื้นที่ว่างทางลบ” (negative Space) เพื่อให้เปลวไฟของคบเพลิง ดูเหมือนทรงผมของสตรีท่านนี้ด้วย
ทั้งนี้ อย่างที่รู้กันว่า มหกรรมกีฬานี้ อาจเป็นที่ที่นักกีฬามีเพศสัมพันธ์อย่างชั่วคราวด้วย โดยโลโก้นี้ได้ถูกพูดถึงบนโซเชียลมีเดียว่า คล้ายกับโลโก้ของ แอพฯ หาคู่ อย่าง “ทินเดอร์” (Tinder) ซึ่งผู้คนแสดงความเห็นต่อเรื่องนี้กันอย่างตลกขบขัน
7.“เหรียญรางวัล” ครั้งนี้เชื่อมโยงกับ “การแบ่งปัน” อย่างไร?
เหรียญรางวัลสำหรับนักกีฬาครั้งนี้ มีคอนเซ็ปท์ “ชัยชนะเพื่อการแบ่งปัน” โดยทุกๆ เหรียญสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 เหรียญ เป็นผลงานการออกแบบโดย “ฟิลิปป์ สตาร์ค” (Philippe Starck) โดยการแข่งขันครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่เหรียญรางวัลสามารถแบ่งตัวได้
โดยทางนักออกแบบได้อธิบายถึงเหตุผลสำคัญในการออกแบบเช่นนี้ว่า “เบื้องหลังความสำเร็จของทุกๆ คน มีคนอยู่เบื้องหลังอีกด้วยมากมายที่ช่วยผลักดันให้พวกเขาและเธอก้าวมาถึงจุดนี้” เพื่อแบ่งปันชิ้นส่วนความทรงจำในช่วงเวลาสำคัญให้เป็นที่ระลึกดูต่างหน้าด้วยกัน
8. “สนามแข่งกีฬา” ที่ติดกับสถานที่สำคัญทั่วปารีส ว้าวขนาดไหน?
ทางผู้จัดงานได้ “ออกแบบสนามกีฬาให้เชื่อมกับสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์” ในกรุงปารีส โดย “ทำเป็นแลนด์มาร์คชั่วคราวแทนการสร้างใหม่” เพื่อลดการสร้างคาร์บอนฯ และชี้ให้เห็นในเรื่องการใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้คุ้มค่า ตามหลัก “หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน” (Circular Economy)
นอกจากนี้ทางผู้จัดงานยังหวังว่ามหกรรมกีฬาในครั้งนี้จะช่วยให้กระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของประเทศไม่แพ้การจัดงานที่กรุงโตเกียว ของประเทศญี่ปุ่น
สถานที่ที่ใช้จัดแข่งกีฬาที่น่าสนใจ มีดังนี้
-กลางเมืองตรงช็องเดอมาร์ส (Champ de Mars) ที่มีหอไอเฟลตั้งตะหง่านเป็นฉากหลัง -> ใช้แข่งขันกีฬาวอลเล่ย์บอลชายหาด
-จัสตุรัสคองคอร์ด ที่มีเสาโอเบลิสก์ จะถูกสร้างอัฒจันทร์ชั่วคราว (Place de la Concorde) -> ใช้แข่งขันกีฬาเอ็กซ์ตรีม เช่น สเกตบอร์ด จักรยานบีเอ็มเอ็กซ์ บาสเก็ตบอล 3×3 และเบรกแดนซ์
-บริเวณพระราชวังแวร์ซาย (Château de Versailles) -> จะถูกปรับให้เป็นสถานที่ใช้แข่งขันขี่ม้า กระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง
-แม่น้ำแซน ที่ไหลผ่านกลางเมืองปารีส (Seine) -> ใช้แข่งขันว่ายน้ำสำหรับให้นักกีฬาไตรกีฬา รวมถึงกีฬาว่ายน้ำมาราธอนและกีฬาโต้คลื่น
-กร็องด์ ปาเลส์ อาคารสไตล์อาร์ตนูโวที่มีหลังคาโดมกระจก (Le Grand Palais des Champs-Élysées) -> จะถูกทำการบูรณะเพื่อใช้แข่งขันกีฬาฟันดาบ และกีฬาเทควันโด
– มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ที่ ทีฮูโป (Teahupo’o) ในเกาะตาฮิติ เกาะที่ใหญ่ที่สุดในเฟรนช์พอลินีเชีย (French Polynesia) -> ใช้จัดเป็นสนามแข่งขันเซิร์ฟ ที่นี่ขึ้นชื่อเรื่องความสวยงามของท้องทะเลและเป็นแหล่งท้าทายความสามารถของบรรดานักเล่นเซิร์ฟทั่วโลก
ที่มา: Paris 2024
กรุงเทพธุรกิจรวบรวม
เผยแพร่: 3 มิ.ย. 256…
This website uses cookies.