เคราตินหรือเซลล์ที่ร่างกายสร้างออกมา ถ้าเป็นผิวจะนุ่ม แต่ถ้าเป็นเล็บตัวเซลล์สร้างเล็บจะแข็ง คลุมปลายนิ้วเพื่อป้องกันเวลาที่เราไปกระทบกับสิ่งของต่าง ๆ จะต้องมีความแข็งแรง ปกติเซลล์ที่ตายไปแล้วจะไปสามารถหลุดลอกเองได้ เราต้องตัดถึงจะหลุดออกไป แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีความผิดปกติของเซลล์ที่สร้างเล็บ ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติของเล็บ ซึ่งจะเราจะเห็นสัญญาณต่าง ๆ ที่บ่งบอกถึงสุขภาพร่างกายของเรา
คอนเทนต์แนะนำ
หน้าที่ของเล็บ
1.) ป้องกัน (Protection) อันตรายที่จะเกิดต่อนิ้วส่วนปลาย (Distal phalanges)
2.) รับความรู้สึก ทำให้ระบบ Tactile discrimination ดีขึ้น
3.) ทำให้นิ้วมือสามารถหยิบจับสิ่งของได้ดี โดยเฉพาะสิ่งของที่มีขนาดเล็ก
4.) เป็นอาวุธของร่างกายอย่างหนึ่งตามธรรมชาติ ในการขีด, ข่วน เพื่อต่อสู้กับอันตราย
5.) เล็บนิ้วเท้ายังช่วยให้การเคลื่อนไหวของเท้าได้ดียิ่งขึ้น (Pedal biomechanics)
6.) เป็นแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น
ลักษณะของเล็บที่ดี
เล็บจะต้องมีสีชมพูจาง ๆ จากสีผิวของเนื้อข้างใต้เล็บ มีพื้นผิวที่เรียบ ผิวหนังรอบเล็บมีความแข็งแรงไม่ถอยร่น และเล็บมีความหนาไม่มากไปและไม่น้อยจนเกินไป แสดงถึงหลอดเลือดที่ดี ระบบไหลเวียนที่ดี หากผิดปกติไปจากนี้แสดงว่า เล็บผิดปกติ เช่น ลักษณะเหล่านี้จะบ่งบอกโรคทางอายุรกรรม
ลักษณะของเล็บที่ผิดปกติ “เสี่ยงเป็นโรค” อะไรได้บ้าง?
1.) เล็บมีสีขาวดอกเล็บ พบบ่อยในเด็ก อาจจะมาจากการขาดสารอาหารบางอย่างหรือภาวะขาดโปรตีนได้ จะเห็นลักษณะเป็นจุดขาว ๆ ที่พบว่าคือเกิดจากการกระแทกหรือติดเชื้อราก็ได้เช่นเดียวกัน เชื้อราบางอย่างเข้ามาด้วยสีขาว ส่วนเล็บขาวล้วนทั้งหมดของตัวเล็บ อาจเกิดจากพันธุกรรม หรือเล็บซีด แทนที่จะเป็นสีชมพูก็สามารถพบได้
2.) เล็บเหลือง (Yellow Nails Syndrome) เกิดจากภาวะต่อมน้ำเหลืองโต หรือกลุ่มคนไข้ที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง โรคปอด หรือโรคไซนัสอักเสบเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ส่วนเล็บที่เหลืองจากการทาเล็บบ่อย จะเกิดจากสารเคมีเข้าไปทำลายตัวเล็บ
3.) เล็บสีเขียว ส่วนใหญ่จะเกิดจากการติดเชื้อ จากแบคทีเรียบางประเภททำให้เห็นเป็นลักษณะสีเขียว ๆ ม่วง ๆ
4.) เล็บสีน้ำตาล กลุ่มโรคที่เกี่ยวกับเม็ดสี บางทีจะเห็นเป็นเส้นสีน้ำตาลในกลุ่มคนไข้มะเร็งของเล็บ อยู่ในกลุ่มของมะเร็งไฝ ซึ่งมาจากมะเร็งที่ตัวเล็บได้
เล็บสีน้ำตาล กลุ่มโรคของการติดเชื้อ เหมือนกับเล็บเหลืองจะเห็นเป็นผิวขรุขระใต้เล็บ ซึ่งจะเจอได้ในกลุ่มคนไข้ที่เป็นสะเก็ดเงิน สังเกตได้จาก ผิวเล็บที่หนาตัวขึ้นเป็นสะเก็ดหรือมีเชื้อรา จะเห็นเล็บร่อนแยกออกจากกันเพราะมีความหนาตัว
5.) ดอกเล็บเกินครึ่งหนึ่งของเล็บ (Half nail) ซึ่งเราจะพบในกลุ่มคนไข้ไตวาย
6.) เล็บขาวเกือบทั้งเล็บ เห็นสีชมพูอยู่นิดเดียว พบในคนไข้โรคตับแข็ง และหัวใจวาย
7.) เล็บเป็นคัปปลิ้ง (Clubbing) หรือนูน ๆ ขึ้นมา หรือไม่นูนแต่เป็นร่อง Spoon คล้าย ๆ ช้อน จะพบในกลุ่มคนไข้ที่ขาดสารอาหาร เช่น การขาดธาตุเหล็ก เป็นต้น
8.) เล็บเป็นจุดเล็ก บุบลงไป พบในคนไข้ที่เป็นสะเก็ดเงิน ภูมิแพ้ผิวหนัง หรือในกลุ่มคนไข้ที่ผมร่วงเป็นหย่อม เป็นความผิดปกติทางด้านผิดหนังทำให้ผิดของเล็บไม่สม่ำเสมอเป็นร่อง
9.) เล็บเป็นขุย ๆ เล็ก ๆ อยู่ข้างบน เป็นร่องเล็ก ๆ เล็บบางลง จะเป็นโรคที่มีความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน
10.) เล็บขบ เกิดได้จากภาวะการติดเชื้อที่มาจากการตัดเล็บ หรือบางครั้งที่พบบ่อยอาจเกิดจากการที่เราใส่รองเท้าคับเกินไป เล็บที่จะงอกขึ้นมา พองอกไม่ได้ก็จะทิ่มลงไปในบริเวณผิวหนังที่อยู่รอบ ๆ เล็บ ทำให้เจ็บขึ้นมา ปวด บวม และติดเชื้อ บางทีพอติดเชื้อก็จะทำให้เนื้อบริเวณนั้นนูนขึ้นมาอีกด้วย ทั้งติดเชื้อ มีหนอง และเลือดออก ซึ่งเจ็บมาก
นอกจากการดูแลความสะอาดของเล็บในทุก ๆ วันแล้ว การบำรุงเล็บด้วยวิธีการเหล่านี้ อาจช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเล็บ และช่วยให้เล็บเงางาม มีสุขภาพดีในระยะยาวได้
1.หลีกเลี่ยงการกัดเล็บ ซึ่งอาจทำให้ผิวหนังบริเวณรอบ ๆ ถูกทำลาย เชื้อโรคจึงเข้าสู่ผิวหนังได้ง่ายขึ้น และเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้สูงขึ้น นอกจากนี้ หากมือของเราสกปรก เชื้อโรคในเล็บยังอาจเข้าสู่ช่องปาก และทำให้ร่างกายได้รับเชื้อโรคได้เช่นกัน
2.หลีกเลี่ยงการตัดหนังบริเวณโคนเล็บ เนื่องจากทำให้เกิดช่องเปิดระหว่างเล็บและโคนเล็บ ซึ่งทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ผิวหนังและเกิดการติดเชื้อได้ง่าย หรือเกิดความผิดปกติของเล็บ เช่น เล็บเป็นคลื่น (Nail Ridges) และเกิดจุดขาวบนเล็บได้
3.หากมีเล็บฉีก ไม่ควรกัดเล็บหรือดึงเล็บให้ขาด เพราะอาจทำให้เกิดแผลได้ ควรใช้กรรไกรตัดเล็บที่สะอาดตัดเล็มบริเวณที่ฉีกออก
4.ไม่ใช้เล็บแงะหรือแกะสิ่งของ อย่างการเปิดฝากระป๋องน้ำอัดลม เพราะอาจทำให้เล็บหักได้
5.สวมถุงมือทุกครั้งเพื่อป้องกันเล็บและมือขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เมื่อทำงานบ้านหรือทำสวน
6.สวมรองเท้าที่พอดีและเหมาะสมกับรูปเท้า ไม่คับหรือบีบหน้าเท้าจนเกินไป
7.สวมรองเท้าทุกครั้งเมื่อออกไปนอกบ้าน หรือเมื่อเดินในบริเวณสระว่ายน้ำหรือห้องอาบน้ำสาธารณะ
8.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินบี 7 หรือไบโอติน (Biotin) วิตามินบี 12 โอเมก้า 3 โปรตีน ธาตุเหล็ก และซิงค์ (Zinc) สูง เช่น เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ถั่ว ธัญพืชชนิดไม่ขัดสี นม ไข่ ผักใบเขียว และผลไม้ ซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงเล็บให้แข็งแรงขึ้นได้
ที่มา : ศูนย์ผลิตและพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา (C.A.I.) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิยาลัยเชียงใหม่, Pobpad
เผยแพร่: 3 มิ.ย. 256…
This website uses cookies.