Freedive คือการลงดำน้ำด้วย 1 ลมหายใจ มีเพียงอุปกรณ์ 2 สิ่งติดตัว คือ ตีนกบ (Fins) และ หน้ากากดำน้ำ เท่านั้น
ผู้อ่านคงเกิดความสงสัยว่าเพียงแค่นี้ เราก็สามารถ ลงน้ำไปแหวกว่ายใต้ท้องทะแลได้แล้วเหรอ? คำตอบคือ ใช่ค่ะ แล้วจำเป็นต้องว่ายน้ำเป็นหรือไม่ คำตอบคือ ไม่จำเป็น! ฮ่ะ มันเป็นไปได้อย่างไร ผู้เขียนจะขอตอบสั้นๆ จากประสบการณ์คือ มันเป็นไปแล้วค่ะ กับตัวผู้เขียนเอง และบางคนอาจจะถามต่อว่า จำเป็นต้องเรียนก่อนเพื่อลง Freedive หรือไม่ คำตอบคือ บางคนสามารถ Freedive เองได้โดยไม่ต้องเรียน แต่ผู้เขียนแนะนำให้ทุกคนที่ผ่านมาอ่านตรงนี้ได้เรียนก่อนอย่างน้อย การเรียน Freedive มีหลายระดับ ขอเพียงแค่เรียน Introduction หรือ Basic ก่อน จะดีกว่าไม่เรียนใดๆเลยค่ะ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เราเข้าใจศักยภาพในตัวเองและดึงมันออกมาใช้ให้คุ้มค่า และ เกิดประโยชน์ต่อการ Freediving เราจะมีความสุขกับมันได้เต็มที่ตามศักยภาพของเรา ในการเล่นกีฬา Freedive นั้นแต่ละคนจะไม่สามารถทำได้เท่ากัน และ สำหรับทุกคนเมื่อได้เรียนรู้วิธีการหายใจ หลักการพาตัวเองลงน้ำให้ได้ ก็จะสามารถพาตัวเองลงไปใต้ท้องทะเลได้ แต่จะอยู่ได้นานแค่ไหน ลงไปได้ลึกขนาดไหน สามารถแหวกว่าย ควบคุมทิศทาง ท่าทางการว่ายได้ขนาดไหน ขึ้นอยู่กับ แต่ละบุคคล และ ความพร้อม ในหลายๆ ด้าน เนื่องจากผู้เขียนเองเพิ่งผ่านประสบการณ์ครั้งแรกของการ Freedive มา จึงขอนำมาถ่ายทอด เพื่อเปิดโลกใหม่ให้กับทุกๆคนที่ได้อ่านบทความนี้ค่ะ
ส่วนตัวผู้เขียนเคยฝึก Scuba หรือ การดำน้ำโดยมีอุปกรณ์ช่วย เช่น ถังอ๊อกซิเจน Fins ตะกั่ว สำหรับถ่วงให้ลงไปในน้ำ หน้ากาก ท่อหายใจ ฯลฯ ในหลักสูตรเบื้องต้นและ ลงฝึกในสระน้ำเท่านั้น จึงได้นำประสบการณ์ที่มีมาเทียบระหว่าง Scuba กับ Freedive พบว่า Freedive ต่างจาก Scuba ตรงที่เราได้ใช้ศักยภาพของตัวเราล้วนๆ ไม่มีพลังของอุปกรณ์ใด ( Fins ช่วยทำหน้าที่ กรณีที่เราต้องการท่าว่ายที่สวยงาม เร็ว ความพุ่งในการแหวกว่ายน้ำ )
การ Freedive จึงเป็นเป็นความภาคภูมิใจในการ ก้าวผ่านข้อจำกัดของตัวเอง ด้วยตัวเองที่แท้จริง
ก่อนจะลงไปถึงเทคนิค วิธีการ และ ข้อมูลจำเป็นของผู้เริ่มต้น Freedrive ต้องขอย้ำอีกครั้งว่า ทุกคน Freedive ได้ และ เมื่อลงไปแล้ว จะไปได้ไกล นาน ท่าทางพลิกแพลงขนาดไหน ไม่มีความแตกต่างเลย เพราะเมื่อเราผ่านขั้นแรกไปได้ เราจะรู้ตัวเราเองดีว่าเราอยากไปต่ออีกขั้นหรือไม่ หรือ เราสนุกกับขั้นนี้ที่เราทำได้ แค่นี้ก็ที่สุดของการเปิดโลกใหม่แล้ว บอกได้คำเดียวว่า ประสบการณ์ที่ได้เพียง 3 วันกับ Freediving ครั้งแรก ทำให้มองการเที่ยวทะเลเปลี่ยนไป ความกลัวใต้ท้องทะเลหายไปได้อย่างไรยังยังนึกไม่ออก แต่กลับกลายเป็นควาาเพลิดเพลิน ความสนุกสนาน และ ทำให้มีความภูมิใจในตัวเองมากขึ้น จนอยากนำมาบอกต่อ ให้คนอื่นๆ ได้มีโอกาสรู้สึกเช่นเดียวกัน
การเรียน Freedive มีหลายหลักสูตร หลายระดับ ผู้เขียนเชื่อว่าทุกหลักสูตรช่วยให้ผู้เรียนสามารถ Freedive ได้ทุกหลักสูตร ส่วนสำคัญตามความคิดของผู้เขียนเป็นเรื่องของผู้สอน เพราะนอกจากผู้สอนจะต้องมีความรู้หลักของ Freediving แล้ว ยังต้องมีเทคนิคการสอนให้ผู้เรียนซึ่งมีพื้นฐานที่แตกต่างกัน ความกล้า ความกลัว ไม่เท่ากัน ให้ สามารถก้าวข้ามข้อจำกัดตรงนั้น เพื่อเปิดโลกใหม่ให้กับนักเรียน Freedive ได้ หลักสูตรของ Freedive เช่น Molchanovs , AIDA, SSI, Apnea Total และ PADI ส่วนระดับของการเรียน มีตั้งแต่ Introduction, Level 1, Level 2, Insturcture สำหรับผู้เขียน ได้เรียนหลักสูตร Apnea Total ระดับ Introduction ซึ่งเป็นการเรียน ภาคทฤษฎี 2-3 ชั่วโมง และ ลงน้ำทะเลอีก 2-3 ชั่วโมง ในวันเดียวกัน
การเรียนเริ่มจาการสอบถามความผูกพันธ์และความคุ้นเคยกับน้องของนักเรียนทุกๆคนก่อน บางคนมีความกลัว ความผูกพันธ์ไม่เหมือนกัน อย่างเช่นเพื่อนร่วม class ของผู้เขียน ชื่อน้องป๋อมแป๋ม เนื่องจากตอนคุณแม่น้องน้องต้องสำลักน้ำในถุงน้ำคร่ำ จึงเป็นที่มาของชื่อ ก็นับว่าเป็นความผูกพันธ์กับน้ำตั้งแต่ยังไม่เกิด สำหรับผู้เขียนเอง ได้แบ่งปันเรื่องส่วนตัวไปว่า เป็นคนกลัวความลึกของน้ำทะเล กลัวที่จะลงไปอยู่ใต้ทำเลที่กว้างใหญ่ไพศาล และ ยังมีสัตว์ทะเลอีกมากมาย และ กลัวการลงน้ำลึกโดยไม่มีเครื่องช่วยเช่น เสื้อชูชีพ
เมื่อได้ทำความรู้จักกันเบื้องต้นแล้ว ก็มาเริ่มสู่บทเรียนด้วยการสอนการหายใจ การเก็บอากาศ ตั้งแต่ เก็บในพุง มาจนถึงเก็บไว้ที่ปอด ค่อยๆปล่อย ทำต่อเนื่องเป็นการวอร์ม หรือ breath up จากนั้นเป็นการเรียนการกลั้นกายใจ (breath hold) ซึ่งครูจะแนะนำให้เราผ่อนคลาย ตั้งแต่ใบหน้า ศรีษะ หัวใหญ่ ลำตัว ปลายเท้า ปล่อยความคิดให้ว่าง เนื่องจาก การผ่อนคลายหรือเคลื่อนไหวให้น้อยสุด รวมถึงการทำงานของสมองด้วย จะทำให้เราใช้ ออกซิเจน (O2) และ เมื่อใช้ O2 จะก่อนให้เกิด คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ตามมา การมี CO2 เพิ่มในร่างกายจะส่งผลต่อ กล้ามเนื้อกระบังลมหดตัว ไม่สามารถกลั้นลมหายใจต่อได้ ในการฝึกขั้นตอนนี้ เราจะได้นำไปใช้จริงในขั้นต่อไปตอนเราลงน้ำจริง และ ทักษะสุดท้ายก่อนลงน้ำคือ การเรียนการเคลียร์หู ( Ear Equalization) เพื่อให้การเดินทางในน้ำทะเลที่มีระดับต่างๆไปเราจะไม่ปวดหู อาการคล้ายกับการที่เรานั่งเครื่องบินตอนกำลังจะลงจอด หากเราไม่ทำ Ear Equalization ในการลงน้ำ เราจะไม่สามารถทนจนลงนำไปได้เพราะเราจะเจ็บหูมาก วิธีการ คือ บีบจมูกและดันลมเหมือนเราหายใจออกซึ่งลมจะดันไปที่หู หรือ บางคนใช้การบีบจมูกแล้วกลืนน้ำลาย บางคนใช้การบีบจมูกและดันโคนลิ้นไปติดลำคอ เป็นต้น
เมื่อจบทฤษฎีเราก็เดินทางขึ้นเรือไปกลางทะเลระดับน้ำลึกขั้นต่ำ 12 เมตร เพื่อการลงปฏิบัติจริง ครูฝึกจะนำทุ่นไปลอยในกลางทะเลปล่อยเชือกความยาว 12 เมตร ลงไปในน้ำทะเล ส่วนนักเรียนก็เตรียมร่างกายให้พร้อม ฝึก breath up ในท่ามาตรฐานคือ ก้มหน้าลงนำทะเล ลอยตัวในน้ำ สวมหน้ากากดำน้ำ และ คาบท่ออากาศหายใจทางปาก breath up 7 รอบ แล้ว พร้อม ลงในน้ำ เข้าสูการฝึก Free Immersion หรือ การไต่เชื่อกลงน้ำ
ฝึก Free Immersion ไต่เชือกลงทะเล
ขั้นแรกของการลงน้ำทะเล ของการเรียน Freedive เราจะฝึก Free Immersion กันก่อน หรือ การไต่เชือกขึ้นและลงไปในน้ำทะเล เพื่อฝึกทักษะการเคลียร์หูในการลงน้ำในระดับต่างๆ ครูนำทุ่นมาวางพร้อมปล่อยเชือกความลึก 12 เมตรผูกทุ่นลงไปในน้ำทะเลให้นักเรียนไต่เชือกลงไป เราฝึกกัน 2 ท่าคือ ท่าเอาหัวลง และ ท่าเอาหัวขึ้น ในระหว่างไต่เชือกลงไป ให้จำไว้ว่า ร่างกายต้องผ่อนคลายไม่คิดถึงสิ่งใดให้รกสมองเพราะจะไปทำให้เพิ่ม CO2 ทางที่ดีหลับตาลงไปเลย ไต่ไปเรื่อยๆ ดูจากคลิปตัวอย่าง ก่อนลง สูดหายใจเข้าพุง ปอด กลั้นเอาไว้ แล้วเคลียร์หูทุกๆ ระยะที่ไต่ลงไป เทคนิค คือ ไม่ต้องมองที่ปลายทางจะทำให้เรากังวล แค่ไต่ลงไปเรื่อยๆ ตอนจะขึ้น ไม่ต้องเร่งรีบ กลับหัว ร่างกายเราจะลอยขึ้นมาเอง ครูฝึกจะขึ้นมาพร้อมๆ กับเรา (การดำน้ำ เราจะไม่ทำคนเดียว ครูจะอยู่กับเราตลอดเวลา) มองตากัน ค่อยๆ ลอยขึ้นมา เมื่อมาถึงทุ่น เราเรียกว่า recovery คือ สูดหายใจเข้าให้เต็มปอดแล้ว พ่นออกมา 2-3 ครั้ง แล้ว ผ่อนคลาย ฝึกอยู่แบบนี้ ประมาณเกือบ 2 ชั่วโมง ทั้งแบบเอาหัวลง และ แบบ เอาขาลง Free Immersion เราฝึกทั้งแบบเอาหัวห้อยลง และ เอาขาลง โดยเคล็ดลับการลงไปอยู่ใต้น้ำได้นานคือความผ่อนคลายไม่จำเป็นต้องมองเป้าหมายลงไปให้ไกลที่สุดตามสภาพร่างกายของเราที่เตรียมพร้อมแล้ว ทำได้ เชื่อหรือไม่ หากเราลงไป 10 เมตร เราคิดว่าเราไม่สามารถกลั้นหายใจได้แล้ว แต่เรายังต้องขึ้นกลับมาอีก 10 เมตรเท่ากัน เรายังสามารถกลับขึ้นมาได้ โดยครูจะอยู่กับเราตลอดเวลา มองหน้า มองตา และสอนเราว่าไม่ต้องเครียด ปล่อยไปตามสบาย และแล้วเราก็ทำได้ ขึ้นลงหลายรอบ ลงไปได้ในระดับ 10-12 เมตร สำเร็จ ในครั้งแรกที่เราเริ่มเรียน Freedive
https://cities.trueid.net/post/215387
ฝึก Duck Dive มึดหัวลงน้ำเหมือนเป็ด
การฝึกแบบนี้ ขออุปกรณ์เพิ่มคือ Fins เพื่อให้เราได้พุ่งไปไกลมากขึ้น ยิ่งได้ใช้ Freedive Fins ยิ่งช่วยได้เยอะ เริ่มจากเราก้มหน้าลอยตัวในน้ำ สวมหน้ากาก คาบท่อหายใจ เตรียม breath up 3 รอบ ผ่านท่อหายใจทางปาก รอบที่ 4 สูดลมหายใจให้เต็มพุงเต็มปอด เคลียร์หู ยื่นมือไปข้างหน้า ในน้ำ ก้มตัวลงเป็นมุมฉาก ยกขาขึ้นฟ้าเหมือนเราทำท่าหกสูง ในตอนนี้หัวเราจะพุ่งไปในน้ำตัวเราตรงขนานกับหัวเท้าชี้ขึ้น ร่างทั้งร่างพุ่งลงไปในน้ำ ใช้เท้าตีน้ำ แบบกรรไกร ( บังขับด้วยต้นขา ไม่ใช่หัวเข่า ) สับห่างๆ แบบกรรไกร เพียงเท่านี้เราจะค่อยๆแหวกว่าย ได้ตามความพร้อมของร่างกาย บางคนพร้อมได้เร็วก็สามารถแหวกว่าย เล่นกับปลาเล่นกับ โขดหินได้เลย บางคนต้องฝึกเรื่อยๆ แต่แค่ผ่านจุดนี้ไปได้ เป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตและเป็นการเริ่ต้นชีวิตใหม่ใต้ท้องทะเลที่ ผู้เขียนยอมรับว่า
ตั้งแต่วันที่ได้เรียน Freedive ขั้นพื้นฐานและ ลงน้ำได้โดยไม่สวมชูชีพ
ก็ไม่เคยมองการมาเที่ยวทะเลเหมือนเดิมอีกต่อไป
จากประสบการณ์ครั้งนี้ จึงทำให้ผู้เขียนตั้งใจที่จะนำมาถ่ายทอดให้ผู้อ่านได้มีโอกาสได้เปิดโลกใหม่ของตัวเอง ทลายอุปสรรค์เดิมๆ ที่ไม่คิดว่าเราจะทำได้ ออกไป เพียง 1 วัน ชีวิตเปลี่ยน อย่างไรก็ตามการเรียนเพิ่มเติมเพื่อเป้าหมายที่เพิ่มขึ้นก็เป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่แต่ละบุคคล เพราะเพียงเท่านี้ผู้เขียนก็มีความสุขและพอใจกับชีวิตใหม่โลกใหม่ที่เราพบ และต้องหาโอกาสไปฝึกเรื่อยๆ โดยคติของการดำน้ำ คือ we never dive alone ดังนั้น การออกทริปดำน้ำจึงเป็นการออกทริปแบบเป็นกลุ่ม เพื่อดูแลซึ่งกันและกัน สถานที่เรียนดำน้ำแบบ Freedive มีหลายแห่ง เรียนจนได้รับใบประกาศ จากสถาบันต่างๆ ข้างต้น เช่น เกาะเต่า แสมสาร หรือจะแจมทริปต่างประเทศ ฟิลิปปินส์ บาหลี ก็มีบริษัทจัดทริป Freedive ของไทยจัดหลายบริษัท
ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อ่านได้ลองทำสิ่งใหม่ก้าวข้ามควากลัวและข้อจำกัดของตัวเอง และคุณจะพบโลกใหม่ แบบที่ผู้เขียนได้พบมาค่ะ
ภาพถ่ายโดย : ผู้เขียน
อยากไปเที่ยวไหนหรือเปล่า? หาข้อมูลที่เที่ยวสุดปังได้ที่ App TrueID โหลดเลย ฟรี !
เผยแพร่: 3 มิ.ย. 256…
This website uses cookies.