อานูป ชาห์ ได้รับการประกาศให้เป็นผู้ชนะการประกวดภาพถ่ายขององค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติประจำปี 2021 (Nature Conservancy 2021 Photo Contest) จากภาพกอริลลาที่ราบลุ่มตะวันตก (western lowland gorilla) กำลังเดินอยู่ท่ามกลางฝูงผีเสื้อในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง
เกาะติดข่าว กดติดตาม ข่าวสด
ภาพนี้มีชื่อว่า มาลุย (Malui) ได้รับคัดเลือกให้ได้รางวัลชนะเลิศจากภาพที่ส่งเข้าประกวดมากกว่า 100,000 ภาพจาก 158 ประเทศ
นายอานูป จากสหราชอาณาจักร จะได้รับรางวัลเป็นชุดกล้องถ่ายภาพมูลค่า 4,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 135,000 บาท)
“ผมชอบภาพถ่ายที่ลากคุณเข้าไปอยู่ในภาพ” เบน โฟลด์ส ช่างภาพและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการกล่าว
ANUP SHAH/TNC PHOTO CONTEST 2021
“หน้า [ของกอริลลา] ฝืนทน หรือกำลังเบิกบาน ยากที่จะบอกได้ และผีเสื้อเหล่านั้นลากคุณเข้าไปตรงนั้น”
องค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติ (Nature Conservancy) เป็นองค์กรด้านการอนุรักษ์ระดับโลกที่ทำงานอยู่ใน 72 ประเทศ และทุ่มเทในการอนุรักษ์ผืนดินและผืนน้ำที่ทุกชีวิตพึ่งพาอาศัย
องค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติ ระบุว่า ได้ใช้วิทยาศาสตร์ในการหาทางออกในพื้นที่ที่เผชิญกับปัญหาที่ท้าทายต่าง ๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
นี่คือภาพที่ชนะจากหลากหลายประเภทในการประกวดภาพถ่ายนี้ พร้อมกับคำบรรยายภาพของช่างภาพ
…………………….
ก่อนมรสุม หิ่งห้อยเหล่านี้จะบินมารวมตัวกันในบางภูมิภาคของอินเดีย พบเห็นได้ตามต้นไม้ไม่กี่ชนิด อย่างต้นนี้
PRATHAMESH GHADEKAR/TNC PHOTO CONTEST 2021
ภาพนี้เป็นภาพที่ใช้ขาตั้งกล้องตั้งถ่ายภาพต้นไม้รวม 32 ภาพ แต่ละภาพเปิดหน้ากล้องนาน 30 วินาที รวมแล้วใช้เวลาในการเปิดหน้ากล้องนาน 16 นาที
…………………….
DANIEL DE GRANVILLE MANÇO/TNC PHOTO CONTEST 2021
ซากอัลลิเกเตอร์ปันตานัล (Pantanal alligator) บนผืนดินที่แตกระแหงริมทางหลวงทรานส์ปันตาเนรา ในรัฐมาทูกรอสซู ประเทศบราซิล
ภาพนี้ถ่ายด้วยโดรนในปี 2020 ในช่วงที่ปันตานัลได้รับผลกระทบจากภัยแล้งรุนแรงที่สุดในปีที่แล้ว
………………………….
DENIS FERREIRA NETTO/TNC PHOTO CONTEST 2021
เขาบรรยายภาพว่า “ขณะอยู่บนเฮลิคอปเตอร์บินผ่านเทือกเขาสลับซับซ้อน ผมได้พบกับกลุ่มเมฆสีขาวที่ปกคลุมอยู่นี้ ทำให้ได้ภาพอันน่าอัศจรรย์ที่คล้ายกับหัวของไดโนเสาร์ภาพนี้”
………………….
SCOTT PORTELLI/TNC PHOTO CONTEST 2021
ในช่วงฤดูฝน อ่าวคาร์เพนทาเรียในเขตร้อนชื้นทางเหนือของรัฐควีนส์แลนด์ เต็มไปด้วยแม่น้ำลำธารที่คดเคี้ยวหลายสาย ก่อให้เกิดภูมิทัศน์ที่ซับซ้อนสวยงามตามธรรมชาติ
ป่าชายเลนสีเขียวขจีตั้งอยู่บนผืนดินเลน น้ำขึ้นน้ำลงและน้ำฝนที่ตกลงมาหลายเดือนในแอ่งน้ำช่วยทำให้ผืนป่าแห่งนี้โดดเด่นขึ้น
……………………….
ALAIN SCHROEDER
ภาพนี้เป็นประจักษ์พยานการช่วยชีวิต การฟื้นฟู และการปล่อยตัวอุรังอุตังอินโดนีเซียตัวหนึ่ง
คณะทำงานโครงการอนุรักษ์อุรังอุตังสุมาตรา (Sumatran Orangutan Conservation Programme) ได้ร่วมกันเตรียมความพร้อมของเบรนดา อุรังอุตังเพศเมียที่คาดว่า มีอายุ 3 เดือน ก่อนรับการผ่าตัด
อุรังอุตังกำลังตกอยู่ในอันตรายเนื่องจากพื้นที่อยู่อาศัยในป่าเขตฝนที่ลดลง เนื่องจากอุตสาหกรรมป่าไม้ การปลูกปาล์มน้ำมัน การทำเหมือง และการล่าสัตว์
……………………….
TOM OVERALL/TNC PHOTO CONTEST 2021
มัคคุเทศก์คนหนึ่งในทะเลทรายซาฮารากำลังฝ่าพายุทราย
……………………..
MINQIANG LU/TNC PHOTO CONTEST 2021
……………………
KAZI ARIFUJJAMAN/TNC PHOTO CONTEST 2021
……………………..
JORAM MENNES/TNC PHOTO CONTEST 2021
คนกำลังว่ายน้ำ และนักดำน้ำทั้งที่ใช้และไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ กำลังสนุกกับกิจกรรมใต้น้ำในแอ่งน้ำใต้ดิน
……………………
JORGE ANDRÉS MIRAGLIA/TNC PHOTO CONTEST 2021
ธารน้ำแข็งในปาตาโกเนีย ประเทศอาร์เจนตินา แห่งนี้ เกิดขึ้นมาจากสะสมตัวของหิมะที่ถล่มติดต่อกันหลายครั้งและอัดตัวจนแน่น มีความยืดหยุ่นมากพอที่จะไหลลงมาจากหุบเขา
ขณะที่มันไหลลงมา อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นทำให้น้ำแข็งละลาย ปลดปล่อยอากาศที่ติดอยู่ข้างในออกมา
……………………..
ฝนที่ตกลงมาไม่หยุดในเขตสงวนแห่งชาติมาไซ มารา (Masai Mara National Reserve) ประเทศเคนยา ทำให้แม่น้ำทาเล็ก (Talek River) เอ่อล้น
BUDDHILINI DE SOYZA/TNC PHOTO CONTEST 2021
เสือชีตาห์เพศผู้ 5 ตัว รวมกลุ่มกันอย่างที่ปกติไม่ค่อยพบเห็น หรือที่เรียกว่า ทาโน โบรา (Tano Bora) กำลังพยายามที่จะข้ามแม่น้ำที่ไหลเชี่ยวสายนี้
พวกมันทำท่าว่าจะล้มเหลว เราจึงรู้สึกดีใจ เมื่อพวกมันข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งได้
ภาพนี้เป็นการย้ำเตือนให้เห็นถึงความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์
…………………..
MATEUSZ PIESIAK/TNC PHOTO CONTEST 2021
เนื่องจากระดับน้ำที่สูง จึงไม่สามารถตัดดอกทานตะวันในทุ่งขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศโปแลนด์ได้
ในฤดูหนาว ทุ่งทานตะวันแห่งนี้ดึงดูดนกนับพันสายพันธุ์ ส่วนใหญ่เป็นนกกรีนฟินช์ (greenfinch) นกโกลด์ฟินช์ (goldfinch) และนกจาบปีกอ่อนอกสีส้ม (brambling)
…………………….
THOMAS VIJAYAN
มนุษย์เราควรจะคิดให้ถี่ถ้วนก่อนที่จะจามขวานลงบนต้นไม้ใหญ่เหล่านี้ในบอร์เนียวและแย่งที่อยู่อาศัยของลิงขนาดใหญ่ชนิดนี้
อุรังอุตังเคยชินกับการอาศัยอยู่บนต้นไม้ และกินผลไม้ป่าเป็นอาหารอย่างลิ้นจี่ มังคุด และมะเดื่อ
ภาพทุกภาพมีลิขสิทธิ์
…………………
ข่าว BBCไทย ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ ข่าวสด เป็นความร่วมมือของสององค์กรข่าว
เผยแพร่: 3 มิ.ย. 256…
This website uses cookies.