โดย PPTV Online
เผยแพร่
เจ้าภาพญี่ปุ่นขึ้นชื่อในเรื่องของเทคโนโลนยี อย่าง ไทนี่บัส ซึ่งเอาไว้วิ่งรับ-ส่งลูกบอลในสนามไปแล้ว วันนี้เราจะพาไปดูกันว่า เจ้าภาพ ญี่ปุ่นเขานำเทคโนโลยีอะไรมาใช้ในการแข่งขันในโอลิมปิกเกมส์ ครั้งนี้อีก
หุ่นยนต์ชู้ตบาสเก็ตบอล
หุ่นยนต์เล่นบาสเก็ตบอลชื่อ CUE เล่นบาสเก็ตบอลในช่วงพักครึ่งของเกมการแข่งขันผู้ชาย รอบแรก กลุ่ม B ระหว่างสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2021 ระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่โตเกียว 2020 ที่ Saitama Super Arena โตโยต้าได้สร้างหุ่นยนต์ยิงบาสเก็ตบอลขนาด 6 ฟุต 10 นิ้วชื่อ Cue ซึ่งใช้เซ็นเซอร์บนลำตัวเพื่อตัดสินระยะทางระหว่างห่วงและใช้แขน ข่าที่เป็นเครื่องยนต์เพื่อยิงลูกตั้ง
ญี่ปุ่นเริ่มฉีดวัคซีนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในโอลิมปิก 2020
“โตเกียว โอลิมปิกเกมส์” อาจเปิดให้แฟนเข้าชม 60-70%
หุ่นยนต์สนับสนุนภาคสนาม
ซึ่งนอกจากไทนี่บัส ที่เราเห็นไปแล้ว ไอเจ้ารถคันเล็ก ๆ ลักษณะนี้ ยังสามารถสนับสนุนกิจกรรมภาคสนามได้ด้วย โดยเจ้านี่มาพร้อมกับฟังก์ชันการทำงานอัตโนมัติ เพื่อที่จะคอยช่วยเจ้าหน้าที่ในการแข่งขันต่าง ๆ อย่างเช่น ฟุตบอล,ขว้างจักร , พุ่งแหลน เป็นต้น โดยหน้าที่ของมันคือ จะคอยช่วยวัดระยะ และนำเจ้าหน้าที่ไปตามเส้นทาง เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวาง และจะช่วยลดระยะเวลาในการทำงานของเจ้าหน้าที่ด้วย โดยเจ้าหุนยนต์ตัวนี้ ร่วมพัฒนาโดย โตโยต้า และสมาคมสหพันธ์กรีฑานานาชาติ
หุ่นยนต์มาสคอต
ขณะที่ไม่พูดถึงมาสคอตของการแข่งขัน คงจะเป็นไปไม่ได้ โดยเจ้า มิไรโตวะ และ ซัมเมตี้ คือสองหุ่นยนต์ที่เดิมทีจะเอาไว้คอยต้อนรับผู้ชมในสนาม แต่ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เจ้าหุ่นยนต์ทั้งสองตัวนี้จึงใช้สำหรับต้อนรับ นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ แทน ด้วยการเคลื่อนไหวที่เหมือนมนุษย์ เช่น การโค้งคำนับและการโบกมือ และการแสดงออกทางสีหน้าที่หลากหลายอารมณ์ เพื่อไว้ต้อนรับแขก ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายกับการแข่งขันมากขึ้น
หุ่นยนต์ช่วยวีลแชร์
หุ่นยนต์ช่วยเหลือผู้ใช้วีลแชร์ ซึ่งจะรองรับไปจนถึงการแข่งขันพาราลิมปิก ที่จะเริ่มขึ้นหลังจากนี้ด้วย โดยเจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้ เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาโดย โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น เอาไว้คอยช่วยเหลือมนุษย์ ด้วยการอำนวยความสะดวกในการเข้า-ออกสนาม คอยให้คำแนะนำไปยังที่นั่ง และยังสามารถส่งน้ำให้กับผู้ใช้งานได้ด้วย
ชุดเพิ่มพลัง
ปกติเราอาจเคยเห็นชุดแบบนี้ในหนัง อย่างเช่นเรื่อง เอดจ์ ออฟ ทูมอโร่ว์ ที่มี ทอม ครูซ แสดงนำ แต่มันเกิดขึ้นจริง ๆ ในการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ เมื่อเจ้าภาพ ญี่ปุ่น ได้นำชุดเพิ่มพลังนี้ ที่พัฒนาโดยพานาโซนิค มาให้เจ้าหน้าที่ใช้ในการช่วยยกของหนัก ๆ อย่างเช่น กระเป๋า , ขนสัมภาระต่าง ๆ หรือกระทั่งยกลูกเหล็กของนักกีฬายกน้ำหนัก ซึ่งเจ้าชุดนี้จะมีเครื่องช่วยไฟฟ้าสำหรับช่วยออกแรกได้ดีเลยทีเดียว
เทคโนโลยี 5G
แน่นอนว่า ญี่ปุ่นเป็นเจ้าแห่งเทคโนโลยี 5G ในโลกอยู่แล้ว จึงไม่แปลกที่จะนำมาใช้ในการแข่งขัน โดยการร่วมมือกันของทั้ง Intel , องค์การโทรคมนาคมของญี่ปุ่น และภาคส่วนต่าง ๆ จึงได้นำเทคโนโลยี 5G ที่หลากหลายมาใช้ในการช่วยตัดสิน หรือช่วยให้การรับชมการแข่งขันได้ออรถรสมากยิ่งขึ้น อย่างเช่น กีฬาเรือใบ ที่เราไม่สามารถออกไปดูกลางทะเลได้ ก็จะมีการใช้ AR เทคโนโลยีสูงเข้ามาช่วยให้คนดูรับชมได้เสมือนอยู่กลางทะเลจริง ๆ หรือกระทั้งในกีฬา ว่ายน้ำ และ กอล์ฟ ที่นำ AR เข้ามาใช้ เสมือนเราได้รับชมการแข่งขันแบบติดขอบสนามด้วย
“น้องเมย์”รัชนก เสียเกมแรก ก่อนพลิกเข้ารอบ 16 คน แบดมินตัน โอลิมปิก
โปรแกรมแข่งขันกีฬา โอลิมปิก 2020 ประจำวันที่ 28 กรกฎาคม 2564