รถไฟฟ้าสีเหลือง 2565 เริ่มทดสอบระบบเดือน ตุลาคม 2565 โดยรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เปิดบริการ ให้ใช้ฟรี 3 เดือน ช่วงเดือน มกราคม – มีนาคม 2566 บริเวณสถานีภาวนา – สถานีสำโรง ก่อนจะเปิดบริการเต็มรูปแบบในปี 2566 เช็กสถานีรถไฟฟ้าสีเหลือง มีสถานีอะไรบ้าง
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง 2565
รถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเหลือง หรือรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว – สำโรง จากถนนศรีนครินทร์ – ถนนลาดพร้าว เข้าสู่ถนนศรีนครินทร์ ผ่านสถานีศรีอุดม สถานีสวนหลวง ร.9 สถานีศรีนครินทร์38 สถานีศรีนุช สถานีกลันตัน สถานีหัวหมาก สถานีศรีกรีฑา สถานีแยกลำสาลี เข้าสู่ถนนลาดพร้าว ผ่านสถานีบางกะปิ สถานีลาดพร้าว 101 สถานีมหาดไทย สถานีลาดพร้าว 83 สถานีลาดพร้าว 71 สถานีโชคชัย 4 สถานีภาวนา มุ่งหน้าสู่สถานีปลายทาง สถานีลาดพร้าว ซึ่งเป็นสถานีที่ผู้โดยสารจะสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยัง สถานีลาดพร้าวของรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน)
สถานีรถไฟฟ้าสีเหลือง มีสถานีอะไรบ้าง
สถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ทั้งหมด 23 สถานี ประกอบด้วย
- สถานีลาดพร้าว
- สถานีภาวนา
- สถานีโชคชัย 4
- สถานีลาดพร้าว 71
- สถานีลาดพร้าว 83
- สถานีมหาดไทย
- สถานีลาดพร้าว 101
- สถานีบางกะปิ
- สถานีแยกลำสาลี
- สถานีศรีกรีฑา
- สถานีหัวหมาก
- สถานีกลันตัน
- สถานีศรีนุช
- สถานีศรีนครินทร์ 38
- สถานีสวนหลวง ร.9
- สถานีศรีอุดม
- สถานีศรีเอี่ยม
- สถานีศรีลาซาล
- สถานีศรีแบริ่ง
- สถานีศรีด่าน
- สถานีศรีเทพา
- สถานีทิพวัล
- สถานีสำโรง
จุดเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าสีเหลือง
- เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินระยะแรก) แยกรัชดา-ลาดพร้าว
- เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาของกรุงเทพมหานครที่แยกฉลองรัช
- เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่ทางแยกลำสาลี
- เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้า Airport Rail Link (ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) ผ่านแยกพัฒนาการ แยกศรีนุช แยกศรีอุดมสุข แยกศรีเอี่ยม จนถึงแยกศรีเทพา
- เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ความคืบหน้า 2565
รถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเหลือง ปัจจุบันมีความก้าวหน้างานโยธา 96.96% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 96.56% และความก้าวหน้าโดยรวม 96.79% มีระยะทางทั้งสิ้น 30.4 กิโลเมตร จำนวน 23 สถานี
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง มีจำนวน 4 ตู้ต่อขบวน ตัวรถกว้าง 3.16 เมตร น้ำหนัก 14,500 – 15,000 กิโลกรัมต่อตู้ โดยระยะแรกจะเปิดให้บริการ 4 ตู้ต่อขบวน รองรับผู้โดยสารได้ 17,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง และสามารถเพิ่มตู้โดยสารได้สูงสุด 7 ตู้ต่อขบวน จะรองรับผู้โดยสารได้มากถึง 28,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
ข้อมูล การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
——————–
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<