Thailand Sport Magazine Sponsored
Categories: กรีฑา

พช.เมืองคอน ยกทีมลงพื้นทีมุ่งแก้ปัญหาความยากจน – ผู้จัดการออนไลน์

Thailand Sport Magazine Sponsored
Thailand Sport Magazine Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   


นายวัชระ ธรรมปัญญาสกุล พัฒนาการจังหวัดนครศรีธรรมราช ในฐานะกรรมการและเลขานุการศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) นำทีมคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอ (คจพ.อ.) ร่วมลงพื้นที่ครัวเรือนยากจน เพื่อติดตามงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมี นายเกรียงศักดิ์ รักษ์ศรีทอง นายอำเภอพรหมคีรี นายสมเกียรติ ไหมดี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเรียง นางสาวสุกรีฑา อรุณจิตต์ พัฒนาการอำเภอพรหมคีรี พัฒนากร และทีมพี่เลี้ยง นำลงพื้นที่และร่วมให้ข้อมูลการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ณ ตำบลนาเรียง อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช

นายวัชระ ธรรมปัญญาสกุล พัฒนาการจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน โดยการบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายได้รับความช่วยเหลือตามสภาพปัญหาในมิติต่าง ๆ และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยระบบการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People and Analytics Platform : TPMAP) 5 มิติ ประกอบด้วย มิติที่ 1 ด้านสุขภาพ มิติที่ 2 ด้านความเป็นอยู่ มิติที่ 3 ด้านการศึกษา มิติที่ 4 ด้านรายได้ และมิติที่ 5 ด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ ซึ่งจังหวัดนครศรีธรรมราช มีคนจนเป้าหมาย TPMAP ทั้งสิ้นจำนวน 25,933 ครัวเรือน 39,238 คน ต่อมา เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2565 ได้ประกาศวาระจังหวัดนครศรีธรรมราช ในการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งอาศัยกลไกทุกภาคส่วน โดยเฉพาะกลไกคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ในการบูรณาการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช พ้นจากความยากจนและมีความสุขได้อย่างยั่งยืน จึงได้ประกาศให้การขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็น “วาระจังหวัด” ที่จะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ จังหวัดนครศรีธรรมราช กำหนดให้ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอ (ศจพ.อ.) ประชุมรับรองข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบ จากทีมปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับพื้นที่ โดยสรุปรายงานข้อมูล ณ วันที่ 7 มกราคม 2565 รายละเอียด มีจำนวนครัวเรือนยากจนเป้าหมายรวมทั้งสิ้น  6,901 ครัวเรือน 9,039 คน จำแนกตามมิติของปัญหา 5 มิติ ดังนี้ 1) มิติด้านสุขภาพ  จำนวน  2,120  คน 2) มิติด้านความเป็นอยู่ จำนวน  5,402  คน 3) มิติด้านการศึกษา จำนวน 576 คน 4) มิติด้านรายได้ จำนวน  6,334  คน และ 5) มิติด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ จำนวน  218  คน นอกจากนี้ยังพบปัญหาอื่น ๆ ได้แก่ 1) ไม่มีที่ดินทำกิน 2) อยู่ในเขตป่าสงวน ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และ 3) บ้านตั้งอยู่ในทุ่งสงวนเลี้ยงสัตว์ จะเห็นได้ว่า ทีมพี่เลี้ยง คือ กลไกที่สำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้ทีมพี่เลี้ยงร่วมกับครัวเรือนวิเคราะห์ปัญหา แนวทางในการแก้ไข และทำแผนพัฒนาครัวเรือน (พัฒนาได้/สงเคราะห์) โดยใช้หลัก 4ท ประกอบด้วย ท1 = ทัศนคติ  ต่อชีวิต ต่อการทำงาน ต่อสภาพปัญหา ท2 = ทักษะฝีมือ ทักษะอาชีพ ท3 = ทุนในครอบครัว (ศักยภาพของครัวเรือน) และทุนชุมชน ท4 = การหาทางออก โดยให้ทีมพี่เลี้ยงติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด (Intensive care) และบันทึก Logbook ทุกครั้งที่มีหน่วยงานให้ความช่วยเหลือ

ทั้งนี้ นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้กำหนดประเด็นเน้นย้ำที่ทุกส่วนราชการต้องให้ความสำคัญ มีดังนี้

​ – กำหนดเป้าหมายการขับเคลื่อนงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดนครศรีธรรมราช 3 เป้าหมาย ได้แก่ 1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) การพัฒนาคุณภาพชีวิต และ 3) การพัฒนาคุณภาพสังคม

​ – กำหนดบทบาทหน้าที่ให้กับ ศจพ.จ. และ ศจพ.อ. ไว้ 5 อย่าง ดังนี้ 1) จะต้องเป็นสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ 2) จะต้องเป็นสำนักงบประมาณ 3) จะต้องเป็นตลาดหุ้น ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 4) จะต้องเป็นคลินิก และ 5) จะต้องเป็นห้องผ่าตัด

​ – ทีมพี่เลี้ยงและทีมปฏิบัติการจะต้องเดินไปด้วยกัน โดยนำกลยุทธ์ “KUSA” ที่ประกอบด้วย
​​​ ​K = Knowledge (ความรู้)
​​​​ U = Understand (เข้าใจ)
​​​​ S = Skill (ทักษะ)
​​​​ A = Attitude (ทัศนคติ)
โดยให้ทีมปฏิบัติการทำ 4 เรื่อง ให้ความรู้ ความเข้าใจ ให้ทักษะที่ต้องมีในการดำรงชีวิต และมีทัศนะคติที่ถูกต้องซึ่งจะมีความสอดคล้องกับหลัก 4ท
​ – แบ่งครัวเรือนเป้าหมายออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับมืออาชีพ (หัวไวใจสู้), ระดับมือสมัครเล่น (รอดูทีท่า) และระดับมือใหม่ (เบิ่งตาลังเล)
​ – ทีมพี่เลี้ยงจะต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง ในกรณีที่มีสถานการณ์ที่เข้ามาเป็นตัวแปร ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์โควิด อุทกภัย หรือเหตุการณ์อื่น ๆ เป็นปัญหาซ้อนปัญหาที่ไม่สามารถควบคุมได้ ต้องพุ่งเป้าไปยังครัวเรือนเป้าหมายมาแก้ปัญหาก่อน โดยใช้เมนูแก้จนเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายการแก้จนแบบพุ่งเป้าสู่ความอยู่รอด พอเพียง และยั่งยืน

Thailand Sport Magazine Sponsored
ผู้สื่อข่าว กีฬา

ข่าวกีฬา นักกีฬา กีฬา ในร่ม indoor outdoor ต้องทำ sport ให้เป็น กีฬา หลักของประเทศ ดูข้อมูล กอล์ฟ บาสเก็ตบอล ฟุตบอล ว่ายน้ำ วอลเล่ย์บอล มวย แข่งรถ แบดมินตัน และ อีสปอร์ต Dedicated to all sport news from Thailand, with news updates, stories and event reports on many different types of sporting activities that the Thailand currently holds, across all of the asia.

This website uses cookies.