Thailand Sport Magazine Sponsored
Categories: กรีฑา

นักกีฬา 6 คนได้เข้าร่วมทีมพาราลิมปิกผู้ลี้ภัยในการแข่งขันโตเกียวเกมส์ – UNHCR Thailand – UNHCR

Thailand Sport Magazine Sponsored
Thailand Sport Magazine Sponsored

นักกีฬาว่ายน้ำ กรีฑา พายเรือแคนู และเทควันโด ทั้ง 6 คน ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมการแข่งขันบนเวทีการกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลกในฐานะสมาชิกทีมพาราลิมปิกผู้ลี้ภัยในการแข่งขันโตเกียวพาราลิมปิกเกมส์ พ.ศ 2563

คณะกรรมการพาราลิมปิกสากลประกาศรายชื่อนักกีฬาเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน โดยมีผู้หญิง 1 คน และผู้ชาย 5 คน ที่ได้แสดงศักยภาพในประเภทกีฬาที่เขาเลือก บางคนเคยได้รับบาดเจ็บในสงครามและบางคนเคยเผชิญความเจ็บปวดของชีวิตที่เปลี่ยนไปตลอดกาลหรือความเจ็บป่วยขณะต้องพลัดถิ่น

หนึ่งในนั้น คือ นักกีฬาพาราลิมปิกหญิงผู้ลี้ภัยคนแรกและเป็นสมาชิกที่อายุน้อยที่สุดของทีม อลิอา อิซซา อายุ 20 ปี ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียที่อาศัยอยู่ในประเทศกรีซ ผู้ลงแข่งขันขว้างไม้ – กีฬาประเภทลานที่จัดขึ้นพิเศษสำหรับนักกีฬาที่สามารถใช้มือได้อย่างจำกัด ไม่สามารถพุ่งแหลน ทุ่มน้ำหนัก หรือขว้างจักรได้

อลิอาติดเชื้อโรคไข้ทรพิษตอนอายุ 4 ขวบ ทำให้สมองได้รับความเสียหายและทำให้เธอมีความบกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา หลังสูญเสียพ่อที่ป่วยด้วยโรคมะเร็ง เธอได้ค้นพบการเล่นกีฬาที่โรงเรียนของเธอในประเทศกรีซ เมื่อ 3 ปีที่แล้ว และตอนนี้เธอได้ร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติ โดยล่าสุดเธอได้ครองอันดับ 4 ในการแข่งขันพาราเวิลด์กรีฑาชิงแชมป์ยุโรป พ.ศ. 2564

อลิอา เล่าว่าการมีส่วนร่วมในกีฬาเป็นช่วงเวลาที่สำคัญยิ่งสำหรับเธอ ทำให้เธอรู้สึกเข้มแข็งและมั่นใจมากขึ้น “ฉันต้องการบอกกับทุกคนว่าหากพวกเขามีลูกที่มีความบกพร่องเหมือกับฉัน อย่าซ่อนพวกเขาไว้ในบ้าน สนับสนุนเขาให้เล่นกีฬา” เธอกล่าว

หนึ่งในสองนักกีฬาว่ายน้ำของทีม อับบาส คาริมิ ผู้ลี้ภัยชาวอัฟกานิสถานที่อาศัยอยู่ในเมืองฟอร์ท ลอเดอร์เดล ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มาเป็นผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียงของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เมื่อต้นปีที่ผ่านมา อับบาสพิการแขนทั้งสองข้างแต่กำเนิดและต้องเผชิญกับการถูกแบ่งแยกในบ้านเกิดของเขาเพราะความบกพร่องทางร่างกายและเชื้อชาติ ทำให้เขาต้องหนีมายังประเทศตุรกีที่เขาพักพิงอยู่ในสถานะผู้ลี้ภัยเป็นเวลา 4 ปี ก่อนได้ไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในสหรัฐอเมริกา

อับบาสเคยคว้ารางวัลมาได้ 8 เหรียญ รวมถึง 1 เหรียญเงินจากการแข่งขันพาราเวิลด์ว่ายน้ำชิงแชมป์ยุโรปที่เม็กซิโก ซิตี้ พ.ศ. 2560 และเขาคาดหวังที่จะคว้าอีกรางวัลให้ได้จากการแข่งขันที่โตเกียว “ผมเชื่อว่าผมมีศักยภาพที่จะได้ขึ้นไปบนแท่นรับรางวัลในการแข่งขันพาราลิมปิกส์ และผมก็เชื่ออีกว่ามันเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ลี้ภัยและทีมของเราทุกคนที่หนึ่งในทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัยจะได้ขึ้นไปรับรางวัลบนแท่นให้ได้ เพราะชัยชนะนี้จะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง เป็นแรงบันดาลใจและความหวังให้กับผู้ลี้ภัยทุกคน” เขากล่าว

นักกีฬาว่ายน้ำอีกหนึ่งคนที่หวังคว้าชัยในการแข่งขันครั้งนี้คือ อิบราฮิม อัล ฮุซเซน จากประเทศบ้านเกิดในซีเรีย ผู้เคยลงแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ที่เมืองริโอ พ.ศ. 2559 หนึ่งในสองสมาชิกแรกของทีมนักกีฬาพาราลิมปิกอิสระที่มีทั้งผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัย ตอนนี้อิบราฮิมอาศัยอยู่ในประเทศกรีซ ขาข้างขวาของเขาตั้งแต่ช่วงเข่าลงไปถูกตัดออก หลังได้รับบาดเจ็บจากเหตุระเบิดในซีเรียขณะกำลังพยายามช่วยเพื่อนที่ได้รับบาดเจ็บ

เขาเป็นนักว่ายน้ำตัวยงมาตั้งแต่เด็ก และยังบออกอีกว่าการได้ลงแข่งขันในพาราลิมปิกคือฝันที่เป็นจริง “ผมอยากให้ผู้ลี้ภัยทุกคนได้รับโอกาสทางการกีฬา ผมคิดไม่ออกเลยว่าชีวิตผมจะเป็นอย่างไรถ้าไม่มีกีฬา” อิบราฮิม กล่าว

ผมคิดไม่ออกเลยว่าชีวิตผมจะเป็นอย่างไรถ้าไม่มีกีฬา”

อนาส อัล คาลิฟา ชาวซีเรียพลัดถิ่นมายังประเทศเยอรมนีโดยผ่านทางประเทศตุรกีใน พ.ศ. 2558 ที่เขาเคยทำงานติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ ก่อนได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลังจาการตกตึก 2 ชั้นใน พ.ศ. 2561 ซึ่งทำให้เขาเคลื่อนไหวได้อย่างจำกัดและสูญเสียความรู้สึกบางส่วนตั้งแต่สะโพกลงไป

นักกายภาพบำบัดของเขาแนะนำให้เขาเริ่มพายเรือแคนูสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายเมื่อปีก่อน และต้องขอบคุณความทุ่มเทในการฝึกซ้อมของเขาและการสนับสนุนของโค้ชที่เธอเองก็เป็นอดีตนักกีฬาโอลิมปิกที่เคยได้รับรางวัล ทำให้อนาสมีพัฒนาการอย่างน่าทึ่ง “ทุกครั้งที่ผมฝึกซ้อม กีฬาทำให้รู้สึกเหมือนว่าคุณสามารถประสบความสำเร็จได้ในหลายๆ เรื่อง และมันทำให้คุณลืมเรื่องความบกพร่องทางร่างกายไปเลย”

ชาห์ราด นาซัจปูร์ อีกหนึ่งสมาชิกของทีมนักกีฬาพาราลิมปิกอิสระที่ริโอจะลงแข่งอีกครั้งในกีฬาขว้างจักรที่โตเกียว ชาห์ราดเกิดในประเทศอิหร่านพร้อมความบกพร่องทางสมองแต่กำเนิด เขาเคยเล่นปิงปองก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นพารากรีฑา หลังจากได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกาใน พ.ศ. 2558 เขาติดต่อคณะกรรมการพาราลิมปิกสากลด้วยความคิดที่จะจัดตั้งทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัยสำหรับการแข่งขันที่ริโอ และเขาก็สามารถเข้าร่วมการแข่งขันนั้นได้ในที่สุด

จากหนึ่งในผู้บุกเบิกทีมนักกีฬาพาราลิมปิกผู้ลี้ภัย ชาห์ราดได้รับการสนับสนุนจากทีมที่ขยายสมาชิกเพิ่มเป็น 6 คนเพื่อไปแข่งขันที่โตเกียว “เมื่อคุณมีทีม คุณได้รับความสนใจที่มากขึ้น มันช่างดีเหลือเกินที่ได้เห็นนักกีฬาเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ผมหวังว่าทีมจะใหญ่ขึ้นอีกเรื่อย ๆ ในปีต่อ ๆ ไป” ชาห์ราด กล่าว

“มันช่างดีเหลือเกินที่ได้เห็นนักกีฬาเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น”

สมาชิกทีมคนสุดท้ายคือ ปาเฟ่ต์ อาคิซิมานา ผู้ที่เดินทางไปโตเกียวตรงจากค่ายผู้ลี้ภัยมาฮามาในประเทศรวันดาที่เขาพักพิงอยู่ตั้งแต่ต้องหนีออกมาจากความขัดแย้งในประเทศบุรุนดี เขาเสียแขนข้างหนึ่งตอนอายุ 8 ขวบ ระหว่างถูกโจมตี ซึ่งแม่ของเขาเสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้นด้วย เขาเริ่มเรียนเทควันโดในเวลาต่อมาและได้เข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติ อีกทั้งยังเป็นผู้ฝึกซ้อมให้เด็กๆ ผู้ลี้ภัยในค่ายด้วยเช่นกัน

ปาเฟ่ต์ให้ความสำคัญกับการให้ความเคารพ มิตรภาพ และศักยภาพที่ได้มาจากการเล่นเทควันโดซึ่งช่วยให้เขาค้นพบตัวเองในประเทศใหม่ “ผู้ลี้ภัยมีความขาดแคลนในหลายๆ ด้าน แต่กีฬาช่วยให้พวกเขาลืมความยากลำบากเหล่านี้ไป” ปาเฟ่ต์ อธิบาย

ทีมนักกีฬาพาราลิมปิกผู้ลี้ภัยได้รับการประกาศรายชื่ออย่างเป็นทางการผ่านวีดีโอ โดยนักดนตรี นักกีฬา นักประพันธ์ และนักแสดงผู้มีชื่อเสียงระดับโลก รวมถึงทูตสันถวไมตรีของ UNHCR ด้วย นักกีฬาจะลงแข่งภายใต้ธงสัญลักษณ์ของคณะกรรมการพาราลิมปิกสากลในการแข่งขันที่โตเกียว และเป็นนักกีฬาทีมแรกที่เดินเปิดขบวนเข้าสนามกีฬานานาชาติญี่ปุ่นในพิธีเปิด วันที่ 24 สิงหาคม

ทีมผู้ลี้ภัยจะเป็นตัวแทนของผู้ที่ถูกบังคับให้พลัดถิ่นจากความขัดแย้ง การประหัตประหาร และการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนมากกว่า 82 ล้านคนทั่วโลก รวมถึงผู้พลัดถิ่นที่มีความบกพร่องทางร่างกายในจำนวนนั้นราว 12 ล้านคนที่มักเผชิญกับความเสี่ยงและอุปสรรคที่เพิ่มขึ้นในการเข้าถึงความช่วยเหลือและโอกาสต่าง ๆ รวมถึงการมีส่วนร่วมด้านกีฬา

UNHCR ทำงานร่วมกับคณะกรรมการพาราลิมปิกสากล เพื่อสนับสนุนให้ทีมผู้ลี้ภัยได้เข้าร่วมการแข่งขันที่โตเกียว และพร้อมด้วยเหล่านักกีฬาเรียกร้องให้ทั่วโลกมอบการเข้าถึงการกีฬาและการถูกรวมเข้ากับสังคมในด้านต่างๆ อย่างเท่าเทียมแก่ผู้พลัดถิ่นทุกคน รวมถึงผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย

Thailand Sport Magazine Sponsored
ผู้สื่อข่าว กีฬา

ข่าวกีฬา นักกีฬา กีฬา ในร่ม indoor outdoor ต้องทำ sport ให้เป็น กีฬา หลักของประเทศ ดูข้อมูล กอล์ฟ บาสเก็ตบอล ฟุตบอล ว่ายน้ำ วอลเล่ย์บอล มวย แข่งรถ แบดมินตัน และ อีสปอร์ต Dedicated to all sport news from Thailand, with news updates, stories and event reports on many different types of sporting activities that the Thailand currently holds, across all of the asia.

This website uses cookies.