โดย PPTV Online
เผยแพร่
กรณีพยาบาลสาวที่ตัดสินใจดิ่งอาคาร 5 ชั้น จบชีวิตตัวเอง ล่าสุดญาติเตรียมรับศพไปประกอบพิธีทางศาสนา เชื่อเจ้าตัวเครียดหนักหลังต้องรับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ด้านกรมสุขภาพจิต เผย บุคลากรด่านหน้าที่ต้องดูแลผู้ป่วยโควิด-19 จะมีความเครียดสูงมากกว่าคนปกติถึง 10 เท่า
สลด! พยาบาลดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กระโดดตึกเสียชีวิต คาดเครียดเรื่องงาน
ชาวเน็ตจี้เอาผิด “หมอ” ทำร้าย “พยาบาลสาว” จนร้องไห้กลางห้องผ่าตัด
รพ.เมตตาประชารักษ์ แจง พยาบาลเสียชีวิต ไม่ได้ติดโควิด-19
เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีนางปวีณา สุกรีฑา หรือแอน พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม ตัดสินใจกระโดดตึกลงมาจากชั้น 5 ภายในโรงพยาบาล
สามีผู้ตาย เปิดเผยว่า ภรรยามีพฤติกรรมเปลี่ยนไป ดูเครียดมากกว่าปกติ มีอาการซึมเศร้า โดยก่อนหน้านี้ภรรยาเคยมาเล่าใหฟังบ้างว่าเหนื่อยล้าจากการทำงาน เพราะไปรับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ตนไม่ได้เอะใจ คิดว่าภรรยาอาจจะเครียดจากภาวะหลังคลอดมากกว่า
สามีผู้ตาย ระบุอีกว่า เพราะนางปวีณาเพิ่งคลอดลูกได้ไม่นาน ซึ่งในช่วงบ่ายของวันนี้ ครอบครัวเตรียมไปรับศพ เพื่อประกอบพิธีทางศาสนาที่วัดตาลเตี้ย จังหวัดราชบุรี
ด้านนายแพทย์ วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โฆษกกรมสุขภาพจิต ให้สัมภาษณ์ผ่านวีดีโอคอล เปิดเผยว่าปัจจุบัน ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 และผู้เสียชีวิตมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จากการสำรวจพบว่า สภาพจิตใจของแพทย์ พยาบาล รวมถึงบุคลากรด่านหน้าที่ต้องเผชิญกับเคสผู้ป่วยโควิด-19 มีภาวะความเครียดจากการทำงานเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา และยังพบว่าเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีภาวะความเครียดมากกว่าประชาชนทั่วไปถึง 3 เท่า เพราะต้องทำงานเป็นผลัด และยังต้องกักตัวอีกเป็นเวลากว่า 14 วัน ทำให้บางคนเกิดความเครียด เพราะไม่ได้พบปะครอบครัว
“เราก็เจอว่ากลุ่มบุคลากรมีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป ตั้งแต่ประมาณสามเท่าถึงประมาณ 10 เท่า นะครับที่มีความอ่อนล้า และก็รู้สึกหมดไฟในการทำงาน โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาดหนักขึ้น ตรงนี้การติดตามเราทำอย่างต่อเนื่อง และก็มีบุคลากรที่ ไม่ได้พูดถึงแค่แพทย์พยาบาล อย่างเดียวนะครับเราต้องพูด ครอบคลุมไปถึงคนที่ทำงานหนักมากๆ เช่นยกตัวอย่างนะครับ คนที่ทำงานอยู่ในห้องแล็บ ผู้ช่วยพยาบาลหรือแม้แต่เวรเปลก็ตาม” โฆษกกรมสุขภาพจิต กล่าว
นายแพทย์ วรตม์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน กรมสุขภาพจิต ได้หาทางออกสำหรับการเยียวยาจิตใจบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีแนวโน้มจะเกิดภาวะความเครียดสะสมแล้ว โดยการส่งทีมผู้เชี่ยวชาญเข้าไปสำรวจ ตามกลุ่มอาสากู้ภัยต่างๆ และลงพื้นที่ไปยังโรงพยาบาลสนาม เพื่อคอยให้คำปรึกษากับบุคลากรที่ทำงานหนักได้ระบายความในใจ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจะประเมินอาการแต่ละบุคคล และมีวิธีพูดให้กำลังใจแตกต่างกันออกไป
เผยแพร่: 3 มิ.ย. 256…
This website uses cookies.