© สนับสนุนโดย เดลินิวส์
การแข่งขันว่ายน้ำข้ามสองทวีป “Samsung Bosphorus Cross Continental” ครั้งที่ 33 ที่ช่องแคบบอสพอรัส ในกรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี ถือเป็นแมตช์ที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งตุรกีจัดมาตั้งแต่ปี 1989
เป็นการแข่งขันหนึ่งเดียวของโลก ที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน นักกีฬาต้องว่ายจากฝั่งเอเชียไปยังยุโรป รวมระยะทาง 6.5 กม. เริ่มต้นที่ Kanlca ฝั่งเอเชียของอิสตันบูลไปสิ้นสุดที่สวน Kurueme Cemil Topuzlu ฝั่งยุโรป ปีนี้มีนักว่ายน้ำ 2,465 คน เข้าร่วม แบ่งเป็นหญิง 668 คน และชาย 1,797 คน โดยเป็นชาวต่างชาติ 1,210 คน และชาวตุรกี 1,227 คน
ศ.ดร.อู เออเดนเนอร์ รองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) และประธานโอลิมปิกของตุรกี ได้เชิญเหล่าผู้บริหารองค์กรกีฬา มาเป็นแขกมากมาย ซึ่งรวมถึงคุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ไอโอซีเมมเบอร์หญิงชาวไทย และ ดร.สมศักดิ์ ลีสวัสดิ์ตระกูล ที่ปรึกษาประธานสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (โอซีเอ) ก็ได้ไปร่วมชมด้วย
© สนับสนุนโดย เดลินิวส์
การแข่งขันว่ายน้ำข้ามสองทวีป จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของตุรกี ผ่านทางด้านกีฬาว่ายน้ำ ปีนี้จัดขึ้นโดยไม่มีผู้ชมตามมาตรการด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่สุดจะเข้มงวด ปรากฎว่า สองนักว่ายน้ำเจ้าถิ่น คว้าแชมป์ไปครอง ฝ่ายชาย คือ โพลัต อูเซอร์ ตูร์นัล ทำเวลาได้ 38.22 นาที ส่วนฝ่ายหญิง แชมป์คือ นิดา เอลิซ อุสตึนดัก ทำเวลาได้ 40.55 นาที
ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าใครแพ้หรือชนะ หากแต่อยู่ที่ท่ามกลางสถานการณ์กาไวรัสโควิดทั่วโลก และชีวิตก็ต้องเดินต่อไปนั้น วงการกีฬาโลก ควรจัดการแข่งขันกีฬาอย่างปลอดภัยกับชีวิตได้อย่างไร ที่สำคัญยังได้โปรโมทการท่องเที่ยวของประเทศด้วย
© สนับสนุนโดย เดลินิวส์
กลับมาที่ประเทศไทย เราเคยจัดแบดมินตันระดับโลกในระบบบับเบิล มาแล้ว 3 รายการ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดงามและได้รับคำชื่นชมไปทั่วโลก จนญี่ปุ่นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ 2020 ยังนำไปเป็นต้นแบบในจัด “ศึกโตเกียวเกมส์” มาแล้ว
การแข่งขันว่ายน้ำข้ามสองทวีป ก็เช่นเดียวกัน หากเรานำมาประยุกต์จัดแข่งขันก็คงจะไม่เกินความสามารถ เพราะเรามีสถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงามมีชื่อเสียงระดับโลกที่ไม่แพ้ใคร อาทิ โซนภาคใต้ มีทั้งภูเก็ตหรือเกาสมุย หรือโซนภาคตะวันออก ก็มีทั้งพัทยา เกาะช้าง เกาะล้าน เช่นเดียวกับที่กรุงเทพฯ ที่มีแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นต้น
© สนับสนุนโดย เดลินิวส์
ในจุดนี้หากภาครัฐบาล นำโดย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่มี “ททท.” และ “กกท.” เป็นหัวเรือใหญ่ จะผนึกกำลังกับภาคเอกชน ร่วมกันจัดสรรงบประมาณมาจัดการแข่งขัน ศึกษารูปแบบการแข่งขนและกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสม อาจจะช่วงหลังไวรัสโควิดระบาดน้อยลง หรือหายไปเลยก็ได้
เชื่อว่าเราเองน่าจะจัดได้ดีเทียงเคียงตุรกีเลยทีเดียว ซึ่งประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจะคุ้มค่ากับการลงทุนไม่น้อย ไม่ใช่แค่วงการกีฬาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการท่องเที่ยวและภาพลักษณ์ของประเทศ ที่จะโดดเด่นไปทั่วโลกอีกด้วย
ศรีเชลียง
Microsoft และคู่ค้าอาจได้รับค่าคอมมิชชันหากคุณซื้อบางสิ่งผ่านลิงก์ที่แนะนำในบทความนี้
ตั้ง MSN เป็นโฮมเพจของฉัน
-
บนแถบเครื่องมือ คลิก Safari จากนั้นคลิกการตั้งค่า
-
ในหน้าต่างการตั้งค่า เลือกทั่วไป
-
ในกล่องข้อความถัดจากโฮมเพจ เพียงพิมพ์ www.msn.com