#ขอรีวิว Kuroko No Basket นายจืดพลิกสังเวียนบาส หรือ ยอดดาวรุ่ง ทีมปาฏิหาริย์
ครบรอบ 10 ปีอนิเมะจากแดนปลาดิบอีกเรื่องที่นับได้ว่ามันส์สุดๆกับอนิเมะแนวกีฬาที่ต้องบอกว่าคุ้นหูคุ้นตาอย่างบาสเกตบอล เรื่องราวของดาวรุ่งทีมปาฏิหาริย์ ที่บอกว่านานทีปีหนจะได้มาอยู่รวมกัน อย่างทีมบาสเกตบอลโรงเรียนมัธยมต้นโรงเรียนเทย์โค ที่มีนักเรียนรวมกันเป็นทีมสุดแกร่งอยู่ 5 คนและมีผู้เล่นที่ทั้งทีมให้การยอมรับอยู่คนหนึ่งซึ่งถูกเรียกว่าผู้เล่นมายา และแล้วเมื่อทั้งทีมเติบโตเข้าสู่มัธยมปลายก็ต้องแยกย้ายกันไปตามโรงเรียนต่างๆ ทุกคนในทีมก้ต่างนำบาสเกตบอลของตัวเองไม่ด้วย เรื่องราวจะเป็นอย่างไรต้องติดตาม
Kuroko No Basket ยังได้ทีมพากย์ไทยมากฝีมือได้แก่
**********
คุโรโกะ เท็ตสึยะ
ให้เสียงโดย พี่ปลาย พิพัฒน์ บุญสิทธิเลิศ
ผลงานที่ผ่านมา
แอสต้า – Black Clover
Peter Parker – The Amazing Spider-Man 1-2 / Spider-Man: No Way Home
โจรูโน่ – โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ
ไอดะ ริโกะ
ให้เสียงโดย พี่จิ๋ง นันทนาพร ประสมศรี
ผลงานที่ผ่านมา
ยูคาโกะ – โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ
ชิโนบุ – ดาบพิฆาตอสูร
อาซึนะ / ริวโซลพิงค์ – ริวโซลเจอร์
**********
โมโมอิ ซัทสึกิ
ให้เสียงโดย พี่หุย นลินี ชีวะสาคร
ผลงานที่ผ่านมา
เออร์เมส – โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ
Carol – Captain Marvel
Gwen – The Amazing Spider-Man 1-2
**********
คิเสะ เรียวตะ
ให้เสียงโดย พี่ต่าง ภูเบศ พัฒน์ปรีชา
ผลงานที่ผ่านมา
Eric – Sex Education
Weather Report – โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ
ไซตามะ – One Punch Man
**********
โคงาเนอิ ชินจิ
ให้เสียงโดย วัฒน์ ธนวัฒน์ เสริมศรี
**********
ฟุคุดะ ฮิโรชิ
ให้เสียงโดย โฟล์ค จักริน จันทร์ประเสริฐ
**********
มุราซากิบาระ อัตสึชิ
ให้เสียงโดย Yuzei Akatsuki
**********
และอีกหนึ่งเสียงที่ขาดไปไม่ได้คือ น้าติ่ง สุภาพ ที่ให้เสียง คางามิ ไทกะ ที่จัดชุดใหญ่ในงานพากย์เพราะกลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มเด็ก จากการพากย์แบบทั่วไปตามเนื้อเรื่องทำให้เรื่องดูค่อนข้างที่จะเครียดและกดดัน เลยให้ตัว น้าติ่ง สุภาพ มาพากย์ในแบบติดตลกยิงมุกในฉากที่มีการแข่งบาสเกตบอล
“กล้องพร้อม นักแสดงพร้อม เทปเดิน…ซีน 1 คัท 1 เทค 1…แอ็กชัน”
1 ซีน (Scene) คือ “ฉาก”
ว่าด้วยเรื่องของฉาก / ผู้เขียนชอบมากๆกับการแบ่งฉากต่างๆและตอนต่างๆออกเป็น ควอเตอร์ (quarter) แต่ละฉากที่ทำออกมาก็เป็นไปตามที่คาดคิดไม่ว่าจะเป็นการซิงไหวซิงพริบ หรือแม้แต่ฉากได้ดีใจจนน้ำตาไหลและฉากที่ต้องเสียใจจนน้ำตาล่วง ที่ละฉากเล่าเนื้อหาออกมาได้อย่างน่าสนใจ Flashback ก็ทำออกมาได้อย่างน่าสนใจไม่ว่าจะเป็นจากตัวละครต่างๆที่อยู่ในเรื่อง เรื่องราวที่สอดแทรกเข้ามาได้อย่างมีสติและไม่ค้างคาให้ผู้ชมหลงประเด็นและทิ้งให้งง เป็นอนิเมะกีฬาที่ไม่ได้มีฉากเวอร์วังจนเกินไปเพราะอย่างการใช้พลังต่างๆก็ทำออกมาได้อย่างน่าสนใจ ถึงแม้จะว่าจะเป็นอนิเมะที่ออกตัวว่าเป็นสำหรับเด็กแต่การเล่าเรื่องก็ไม่ได้เหมาพสำหรับเด็กเท่าไหร่เพราะใส่ฉากที่เป็นเรื่องราวของแนวชีวิตเข้ามาตลอดการดำเนินเรื่อง
2 คัท (Cut) คือ “มุม”
ว่าด้วยเรื่องของบท / ต้องออกตัวก่อนว่าผู้เขียนเคยอ่านในฉบับมังงะมาแล้วก่อนหน้า เลยทำให้เห็นว่าการปรับบทของเนื้อเรื่องค่อนข้างจะน่าเสียดายเพราะตัวมังงะทำออกมาได้ครบรสกว่า บทต่างๆของตัวละครก็ดูจะมีบทอ่อนกว่าแบบมังงะอยู่หลายจุด เพราะบทส่วนใหญ่ก็โยนมาให้แต่ตัวละครเด่นเช่นตัวละครหลักของแก่นเรื่องแต่ตัวละครตัวรองๆในเรื่องกลับถูกมองข้ามไปอย่างหน้าตาเฉย เลยต้องบอกว่าบทอนิเมะยังตีไม่แตกเท่าที่ควร แต่ก็ต้องชื่นชมที่หันมาใส่ใจกับบทของตัวละครหลักเพราะท่านใดที่ไม่ได้อ่านแบบมังงะมาและมาดูอนิเมะเลยก็จะไม่งงมากนักกับเนื้อเรื่องเนื้อหาที่อนิเมะนำเสนอ
3 เทค (Take) คือ “จำนวนครั้งที่เล่น”
ว่าด้วยเรื่องของตัวละคร / ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีความคล้ายกับต้นฉบับมังงะของ ทาดาโทชิ ฟูจิมากิ ที่ออกวางขายปี 2550 แต่ทางสตูดิโอก็ทำออกมาได้อย่างเรียบง่ายการเล่าเรื่องราวของตัวละครการเติบโตของตัวละครต่างๆออกมาได้ชัดเจน ในแง่มุมที่ตัวละครต้องค้นหาตัวเองก็ทำออกมาได้ดีพูดง่ายๆรวมๆก็คือตัวละครต่างๆที่เนื้อเรื่องเผยออกมาร่วนแล้วแต่ลงตัวสุดๆถึงจะมีบางจุดที่ดูจะประเดประดังไปบ้างหรือทำให้คนดูงงไปบ้าง เพราะในบางประเด็นก็ไม่ได้เล่าลงไปลึกจนต้องให้เราเหล่าคนดูนำมาขบคิดกันเองอีกรอบ แต่ผู้เขียนก็ชอบตัวละครหลักในเรื่องถึงแม้ว่าจะมีมากมายหลายตัวแต่ Kuroko No Basket นายจืดพลิกสังเวียนบาส หรือ ยอดดาวรุ่ง ทีมปาฏิหาริย์ ก็เล่าถึงเรื่องราวของตัวละครเหล่านี้ได้ดีมากๆในทุกตัวละคร
4 Slate คือ ป้ายที่เขียนบอก ซีน คัท เทค
ว่าด้วยความหมายของหนัง / ความเป็นทีม Kuroko No Basket นายจืดพลิกสังเวียนบาส หรือ ยอดดาวรุ่ง ทีมปาฏิหาริย์ นำเสนอความหมายของทีมได้อย่างตรงไปตรงมาไม่ว่าจะเป็น ทีมรุ่นปาฏิหาริย์ที่เคยเล่นบาสเกตบอลกันเป็นทีมแต่แล้วก็เกิดความแข็งแกร่งขึ้นมาเลยทำให้ตัวละครต้องแข่งกันเป็นที่สุดของรุ่น แต่ตัวอนิเมะกับเลือกนำเสนอทีมหลักอย่างเซย์รินและวางความหมายของคำว่าความเป็นทีมอย่างตรงไปตรงมาในการแข่งขันบาสเกตบอล ที่ต้องอาศัยกันและกันในการเดินทางสู่ชัยชนะ
5 “คัท !!!!”
Kuroko No Basket นายจืดพลิกสังเวียนบาส หรือ ยอดดาวรุ่ง ทีมปาฏิหาริย์ กำกับ ชุนสุเกะ ทาดะ สตูดิโอ Production I.G ที่แบ่งออกทั้งหมด 76 ควอเตอร์ หรือ 76 ตอน แต่ละตอนที่นำเสนอออกมาไม่ได้มีอะไรที่ทำให้ผู้ชมต้องเบื่อเลยสักควอเตอร์ การจับกีฬาที่มีอนิเมะมากมายอย่างกีฬาบาสเกตบอลออกมาก็นับได้ว่าเป็นความใจกล้ามากๆ แต่ก็มีความแปลกใหม่และการเล่าเรื่องที่แสนจะคมคายและทุกฉากที่ควอเตอร์ก็สอดแทรกเรื่องราวของตัวละครได้อย่างมีชีวิตชีวาและน่าค้นหารวมไปถึงความหมายที่นักกีฬาทุกคนต้องมีร่วมกันและขาดไม่ได้อย่างคำว่าทีม ความเชื่อใจในทีมและทุกคนในชมรม อันนี้คือสูตรสำเร็จที่ต้องบอกว่าประทับใจแบบสุดๆแม้อนิเมะจะผ่านมานานถึง 10 ปีแล้วก็ตามแต่การปัดฝุ่นมันออกมาดูใหม่ในช่วงเวลาที่ต่างออกไปก็ทำให้ผู้เขียนเห็นถึงมุมที่ต่างออกไปเช่นกัน
(สิ่งหนึ่งที่คนดูอย่างผู้เขียนเห็นคือความตั้งใจของทีมผู้กำกับทีมนักแสดง คะแนนเต็มแบบไหนอย่างไรไม่ควรนำมาตัดสิน กับเรื่องของภาพยนตร์ , อนิเมะ , ซีรีส์ , แอนิเมชัน และเกม “คะแนนของคุณไม่ใช่คะแนนของใคร ที่สำคัญกำลังใจย่อมดีกว่าการตัดสินด้วยคะแนน” ผู้เขียนจะย้ำอยู่เสมอ สิบปากว่าไม่เท่าตาคุณเห็น ต้องชมเองให้ได้เท่านั้น)
#จิปาถะและอรรถรส
ขอบคุณภาพประกอบจาก アニメ黒子のバスケ – ปก / 1 / 2 / 3 / 4
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก End Credits ท้ายเรื่อง และการเป็นแฟนเดนตายผู้กำกับภาพยนตร์ , อนิเมะ , ซีรีส์ , แอนิเมชัน และเกม นักเขียนบทภาพยนตร์ , อนิเมะ , ซีรีส์ , แอนิเมชัน และเกม นักแสดงทุกท่านทีมสร้างภาพยนตร์ , อนิเมะ , ซีรีส์ , แอนิเมชัน และเกมทุกคนและบริษัทและค่ายผู้ผลิตภาพยนตร์ , อนิเมะ , ซีรีส์ , แอนิเมชัน และเกม
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติม
อ้างอิง 1
*STAR COVER”อย่ามัวแต่ดูมาดังกัน”*
ทรูไอดีคอมมูนิตี้ ขอชวนทุกคนมาสนุกโคฟเวอร์ พร้อมลุ้นรับเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 7,000 บาท (5 รางวัล) โคฟคนที่ใช่ ไลค์คนที่ชอบ`ร่วมสนุกได้ที่ ทรูไอดีคอมมูนิตี้ ห้อง cover บนแอปทรูไอดี`
คลิกเลย >> https://ttid.co/UAnK/7y9jfqkq
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://bit.ly/3O1cmUQ
ร่วมสนุกตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2565 – วันที่ 3 สิงหาคม 2565